Page 123 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 123
การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอินเดีย
สาธารณรัฐอินเดียประกอบด้วย 28 รัฐ และ 7 อาณานิคม โดย 23 จาก 28 รัฐก็มี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของตนเอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศอินเดีย
จัดตั้งตามกฤษฎีกาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 1993 ซึ่งเห็นชอบตาม
พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนปี 1993 ก าหนดให้คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่หลักใน
้
การดูแล เรื่องการปองกัน และคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน การถูกละเมิดโดยภาครัฐ การ
ด าเนินคดีในชั้นศาล ตรวจสอบเรื่องราวร้องทุกข์ งานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนตามที่กฎหมายได้ก าหนดไว้ การให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน
แก่ประชาชน นอกจากนี้คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เองยังคงมีหน้าที่ในการศึกษา หาข้อมูล
จัดท าข้อเสนอแนะในการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการด าเนินงาน และส่งเสริม เผยแพร่ให้
หน่วยงานอื่นๆ มีความสนใจในการท างานด้านสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ส่วนคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนในท้องถิ่นนั้นก็ถูกจัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิมนุษยชนปี 1993 ด้วย
เช่นเดียวกัน
รัฐบาลอินเดียตระหนักถึงความจ าเป็นในการจัดองค์กรอิสระส าหรับส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน ในการนี้จึงน ามาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นโดยทาง
คณะรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่าคณะกรรมการนี้จะสามารถท างานด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือและวิธีการต่างๆ จากแนวทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ อีก
ทั้งหน่วยงานนี้ยังถือเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียใต้และถือเป็น
หนึ่งในไม่กี่องค์กรระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 90
มาตราที่ 2 ของพระราชบัญญัติฯให้ค าจ ากัดความว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิต ความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีของบุคคล ตามที่รัฐธรรมนูญของอินเดียได้ระบุไว้ รัฐธรรมนูญ
อินเดียได้ระบุถึงสิทธิไว้หลายประการ อาทิเช่น สิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จ าเป็น
ต่อการด ารงชีวิตที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับ นอกจากนี้ยังมีสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม
เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสิทธิที่รับรองอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นมีที่มาและความสอดคล้องกับกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนนั้นก็ระบุ
อยู่ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ซึ่งการควบคุมสิทธิขั้นพื้นฐานนั้นอยู่ภายใต้ศาลฎีกามาตรา 32 และ
มาตรา 226 ภายใต้ศาลสูง
- 79 -