Page 126 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 126
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน
ของประเทศอินเดียให้ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดีทางส่วนกลาง
ยังคงมีความเห็นว่าควรให้ทุกรัฐเร่งด าเนินการจัดตั้งคณะกรรมการให้ครบถ้วนในทุกรัฐ
นอกจากนี้ยังมีการสร้างกิจกรรมและแผนงานต่างๆ ในการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดี
ในการด าเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐและส่วนกลางอีกด้วย
4.3.4 อ านาจหน้าที่/ขอบเขตความรับผิดชอบ
อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้มาตรา 12 ของ
พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอ านาจดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบการร้องเรียนที่ยื่นโดยผู้เสียหายหรือผู้แทนในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิ
หรือถูกเพิกเฉยจากการคุ้มของจากเจ้าหน้าที่รัฐ
2. การมีส่วนร่วมในคดีที่อยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชน แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุญาติจากศาลก่อน
3. การตรวจเยี่ยมผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือการดูแลในช่วงระยะเวลาใด
ระยะเวลาหนึ่งหรือในห้องกักกันหรือสถานที่ ที่ถูกก าหนดไว้
4. ให้การรักษาและการคุ้มครองรวมทั้งส่งสรุปรายงานและข้อเสนอแนะให้แก่คณะ
รัฐบาล
5. ทบทวนการให้ความปลอดภัยภายใต้การควบคุมของกฎหมายเพื่อให้การ
คุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนและน าเสนอแนวทางเพื่อการน าไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ั
6. ตรวจสอบปจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุขซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ
อาทิเช่น การก่อการร้าย เหตุความรุนแรงต่างๆ และน าเสนอข้อเสนอแนะเพื่อไปสู่แนวทางแก้ไข
7. ศึกษาสนธิสัญญาและแนวทางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ
เพื่อน ามาสร้างข้อเสนอแนะสู่แนวทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
8. ส่งเสริมการศึกษาและงานวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน
้
9. เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการปกปอง
สิทธิมนุษยชนผ่านสื่อประเภทต่างๆ การจัดประชุม สัมมนาและช่องทางอื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้
10. ให้การส่งเสริมและสนันสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ท างานด้านสิทธิมนุษยชน
11. พิจารณา หาแนวทางอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
- 82 -