Page 114 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 114
ภายใต้ระเบียบศาล (The Rule of Court) ศาลได้แบ่งออกเป็น 4 หมวด และก าหนด
ระยะเวลาในการพิจารณาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น โดยจะต้องให้ความเท่าเทียมกันตามแต่ละ
ภูมิศาสตร์และประเภทของคดี และค านึงถึงความแตกต่างของระบบกฎหมายในแต่ละรัฐภาคีด้วย
ผู้พิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมาจากการคัดเลือกจากรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา ซึ่ง
แต่ละรัฐภาคีมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัครเข้าคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาได้รัฐละ 3 คน และสามารถด ารง
ต าแหน่งมากกว่า 6 ปี แต่ไม่มากเกินกว่า 9 ปี และจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
4.2.4 อ านาจหน้าที่/ขอบเขตความรับผิดชอบ
ในรายงาน Human Rights Commissioner Report Europe (ม.ป.ป.: 1) ได้กล่าวถึงศาล
สิทธิมนุษยชนท าหน้าที่พิจารณาค าร้องที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลที่ระบุอยู่ใน
อนุสัญญาฯและมีผู้พิพากษาซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประเทศสมาชิกทั้ง 47 ประเทศเป็นผู้พิจารณา
การยื่นค าร้องต่อศาลสามารถด าเนินการได้โดยบุคคล/กลุ่มบุคคล/บริษัท/NGOs/รัฐแต่
้
้
การฟองร้องจะกระท าได้เฉพาะต่อรัฐสมาชิกอนุสัญญาเท่านั้น ไม่สามารถฟองร้องต่อบุคคลหรือรัฐ
อื่นที่มิได้เป็นสมาชิกอนุสัญญา โดยศาลจะพิจารณาค าร้องในเบื้องต้นว่าเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ
ตามที่ระบุในอนุสัญญา หรือไม่ และเงื่อนไขส าคัญที่ศาลจะรับพิจารณาค าร้องคือ ผู้ร้องที่ถูกละเมิด
สิทธิโดยประเทศสมาชิกจะต้องด าเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ตนถูกละเมิดให้
แล้วเสร็จก่อน และเมื่อเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสามารถยื่นค าร้องต่อศาลภายใน
ระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งรัฐสมาชิกที่มีพันธะที่จะต้องด าเนินการให้เป็นไปตามค าพิพากษาของศาล
เช่น การจ่ายเงินชดเชย หรือการแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ส าหรับคนไทย
ในยุโรปหากถูกละเมิดสิทธิตามอนุสัญญาก็สามารถด าเนินการตามขั้นตอน ดังกล่าวได้ โดยให้ใช้
ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสในการเขียนค าร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง สตราบูรก์
ประเทศฝรั่งเศส
- 70 -