Page 113 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 113
คู่กรณีมีหน้าที่โดยต าแหน่งในองค์คณะ ก็จะใช้องค์คณะ 7 ท่านเช่นกัน ภาษาทางการที่ใช้คือ
ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส โดยที่คู่กรณีอาจมีตัวแทนและมีที่ปรึกษากฎหมายได้
ผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากจ านวนเท่ากันกับจ านวนรัฐ
ภาคีอนุสัญญาฯ ตามมาตรา 38 แห่งอนุสัญญาฯ โดยรัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มี
สัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้ เช่น ประเทศลิกเตนสไตน์ได้เคยเสนอชื่อนาย โรนัล แม็คโดนัล
สัญชาติแคนาดา เป็นผู้แทนของตน แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่มีผู้พิพากษาสัญชาติเดียวกันด ารง
ต าแหน่งพร้อมกัน ถึงแม้ว่าผู้พิพากษาเหล่านั้นจะได้รับการเสนอชื่อจากรัฐภาคีอื่นตามมาตรา 38
ก็ตาม
ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีคุณสมบัติเป็นข้าราชการหรือมีต าแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล โดยผู้
พิพากษาต้องท างานโดยความรู้ความสามารถของตน มีความเป็นอิสระ โดยจะประกอบอาชีพอัน
กระทบกระเทือนต่อความมีอิสระแห่งตนไม่ได้ และไม่ได้ปฏิบัติงานในนามของรัฐที่เสนอชื่อแต่
อย่างใด
ภายหลังพิธีสารฉบับที่ 11 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1998 กระบวนการ
คัดเลือกผู้พิพากษาส าหรับสิทธิมนุษยชนใหม่ มีความแตกต่างจากศาลสิทธิมนุษยชนเดิมอยู่บ้าง
เช่น ในส่วนของบทบัญญัติมาตรา 22 และ 23 ที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่จากเดิมในมาตรา 38 ,39
และ 40 ดังต่อไปนี้ คือ
1) ผู้พิพากษาจะต้องได้รับการคัดเลือกจากการยอมรับของภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญา
เท่านั้น
2) วาระการเกษียณอายุเพียง 70 ปี
3) ภาคีสมาชิกต้องการให้วาระการด ารงต าแหน่งสั้นลงจาก 9 ปี เหลือเพียง 6 ปี
ั
4) ประโยคสุดท้ายของมาตรา 38 เก่า นั้นก่อให้เกิดปญหา กล่าวคือ เมื่อประเทศลิกเตน
สไตน์ไม่สามารถหาผู้พิพากษาที่เหมาะสมได้เพราะพลเมืองของตนมีทั้งสัญชาติออสเตรียและสวิส
จึงจ าเป็นต้องเสนอบุคคลสัญชาติแคนาดาเป็นผู้แทนของตนดังที่กล่าวมาแล้ว
ต่อมาผู้พิพากษาที่ได้รับการเสนอชื่อก็จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกโดยสมัชชารัฐสภา
แห่งยุโรป (The parliamentary Assembly of the Council of Europe) ในวาระคราวละ 6 ปี และ
จะมีการคัดเลือกใหม่ทุกๆ 3 ปี และเกษียณเมื่อครบอายุ 70 ปี ส่วนศาลองค์คณะใหญ่ (the
Plenary Court) จะมีการคัดเลือกประธานจ านวน 1 นาย รองประธาน 2 นาย
- 69 -