Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 90

๘๑
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  สถานที่ที่เหมาะสมส าหรับการส่งกลับ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งผู้ลี้ภัยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควร

                  เพื่อให้เตรียมพร้อมส าหรับการเดินทางกลับ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องให้ข้อมูลสถานการณ์ในประเทศต้นทาง


                  และแจ้งให้ผู้ลี้ภัยทราบถึงช่องทางการคัดค้านการส่งกลับ


                         นอกจากจะก าหนดว่าประเทศไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับต่อเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นทางมีความ

                  ปลอดภัยแล้ว ในระหว่างที่ผู้ลี้ภัยยังพักพิงอยู่ในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ

                  และหน่วยงานภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ลี้ภัย โดยจัดหาที่พัก


                  เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค และปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยโดยสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรม เพื่อให้

                  ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย


                                       ๔
                         จากการลงพื้นที่ ส ารวจในอ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  พบว่าบริบทและลักษณะของการ
                  อพยพลี้ภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมาร์นั้นเปลี่ยนแปลงไป คือเป็นการอพยพเข้ามาในประเทศไทย


                  เพียงชั่วคราว และผู้ลี้ภัยบางส่วนเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับประเทศไทย เช่น ได้ส่งบุตรเข้ามา

                  เรียนในโรงเรียนของไทย,  ได้เข้ามาท างานโรงงานในประเทศไทย การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงาน

                  ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคประชาสังคม จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือใน

                  ระยะเวลาสั้น และความช่วยเหลือดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อสถานการณ์การสู้รบในประเทศเมียนมาร์ยุติลง

                  และผู้ลี้ภัยสามารถเดินทางกลับประเทศเมียนมาร์ได้โดยปลอดภัย



                         นอกจาก หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศควรร่วมมือกัน

                  ในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของผู้ลี้ภัยแล้ว หน่วยงานความมั่นคง ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีบทบาท

                  ส าคัญในการดูแลผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน หน่วยงานความมั่นคงจึงควรปรับวิธีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยให้

                  สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงมนุษย์ และบริบทในภูมิภาคเอเชียตะวันออก


                  เฉียงใต้ด้วย














                  ๔  บทที่ ๓ สถานการณ์การอพยพลี้ภัยการสู้รบชายแดนไทย-พม่า.รายงานการวิจัยฉบับนี้
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95