Page 85 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 85

บทที่ ๔


                                แนวทางการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยการสู้รบตามหลักสิทธิมนุษยชน





                         จากการศึกษาหลักการทางสากลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย

                  ค.ศ. ๑๙๕๑ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗  หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-


                  refoulement)  ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ ๒ แล้วนั้น เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติของหน่วยงานที่

                  เกี่ยวข้องในพื้นที่ พบว่า แม้ทุกหน่วยงานจะมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้หนีภัยการสู้รบโดยยึดหลัก

                  มนุษยธรรมก็ตาม แต่ในการปฏิบัติจริง มีการกดดันให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบกลับไปยังภูมิล าเนาเดิมใน

                  ขณะที่การสู้รบยังไม่ได้สิ้นสุดลงอย่างแท้จริง ดังนั้น ในบทนี้จึงจะกล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักการ

                  ไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ว่าเป็นอย่างไร



                  ๔.๑  แนวทางการปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (Non - Refoulement)


                         ดังที่กล่าวถึงสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนในบทที่ ๓ ว่า ผู้อพยพลี้ภัยจาก

                  การสู้รบจ าเป็นต้องเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์การในประเทศต้นทางบีบบังคับ  เช่น

                  กรณีการสู้รบระหว่างกองก าลังทหารพม่าและกองก าลังกะเหรี่ยงใน ปี ๒๕๕๓ ท าให้มีผู้อพยพลี้ภัยเข้ามา

                  ในประเทศไทย ในบริเวณจังหวัดตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ การส่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้


                  กลับประเทศอาจท าให้พวกเขามีอันตรายต่อชีวิตและเสรีภาพ ด้วยเหตุนี้ ก่อนการส่งกลับประเทศไทยจึง

                  ควรก าหนดให้มีการพิจารณาตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยจะเดินทางกลับ เพื่อให้สอดคล้อง

                  กับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement) แต่จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็มิได้บัญญัติ

                  รับรองหลักการดังกล่าวไว้ในกฎหมายภายในของประเทศ



                         ปัจจุบัน พบว่าหลายประเทศได้ระบุหลักการไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่อันตรายในกฎหมายภายใน

                  ตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากได้รับข้อเสนอแนะจากกระบวนการยูพีอาร์ในปี ๒๕๕๑  รัฐบาล

                  ญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการ

                  ทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้  มนุษยธรรม หรือที่ย ่ายีศักดิ์ศรี   และอนุสัญญา

                  ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับสูญหาย  โดยก าหนดในมาตรา ๕๓ ของ


                  Immigration  Control  and  Refugee  Recognition  Act   ไม่ให้ส่งบุคคลกลับไปยังประเทศซึ่งชีวิตและ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90