Page 86 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 86
๗๗
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
อิสรภาพของผู้ลี้ภัยจะมีอันตราย เสี่ยงที่จะถูกทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม โดยญี่ปุ่น จะไม่ส่งบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการขอพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยกลับประเทศ และ
แม้ว่าบุคคลนั้น ๆ จะถูกปฏิเสธสถานะผู้ลี้ภัย หรืออยู่ในระหว่างด าเนินคดีในศาลในประเด็นดังกล่าว
ประเทศญี่ปุ่นจะพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการส่งกลับอย่างระมัดระวัง เช่น เลือกเวลาที่เหมาะสมใน
๑
การส่งกลับของผู้ลี้ภัยแต่ละคน
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ประเทศไทยสามารถปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
๔.๑.๑ การประเมินสถานการณ์ในประเทศต้นทางก่อนการตัดสินใจส่งกลับ
ก่อนมีการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ ประเทศไทยควรประเมินว่าการส่งกลับดังกล่าวจะท าให้ผู้ลี้ภัยมี
ความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย ถูกทรมาน หรือปฏิบัติหรือถูกลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือไม่
โดยการประเมินของรัฐต้องเป็นไปอย่างจริงจัง รอบด้านโดย ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงของแต่ละกรณี
และเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยที่จะถูกส่งตัวกลับมีโอกาสที่ได้แสดงความเห็น และข้อเท็จจริงประกอบด้วย
๒
จากการลงพื้นที่ส ารวจของคณะผู้วิจัย ในพื้นที่อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ ๑๓– ๑๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๔ พบว่าปลายปี ๒๕๕๓ เมื่อฝ่ายทหารไทยได้รับข่าวว่าการสู้รบในฝั่งพม่าสงบลงแล้ว
ก็มีการส่งผู้อพยพกลับทันที แต่การสู้รบมิได้ยุติลงจริง ท าให้ผู้อพยพต้องกลับเข้ายังฝั่งประเทศไทย ๓-๔
ครั้ง และ การลงพื้นที่ส ารวจที่อ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๕๔ พบว่าช่วงปลายปี ๒๕๕๓ ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างกองก าลังทหารพม่ากับกองก าลังทหาร
กะเหรี่ยงในพื้นที่ อ าเภอพยาตองซู จังหวัดตันบูซายัด ประเทศเมียนมาร์ ตรงข้ามกับด่านพระเจดีย์สาม
องค์ อ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ท าให้มีผู้อพยพลี้ภัยการสู้รบข้ามชายแดนประเทศไทย ในวันที่
สามของการเข้ามาลี้ภัย ทหารก็ได้สั่งให้ผู้อพยพไปรวมกันที่วัดและให้เดินกลับพม่า หลังจากที่ได้รับแจ้งว่า
การสู้รบสงบลงแล้ว แม้ในความเป็นจริงยังมีเสียงปืนยังดังไม่ขาดสาย แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมี
แนวโน้มที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศเมียนมาร์ทันที เมื่อได้รับสัญญาณจากฝั่งทางพม่าว่าการสู้รบเข้าสู่
๑ The Government of Japan. (March, ๒๐๑๑) “Mid-term progress report by Japan on its implementation of
recommendation made in May ๒๐๐๘”
๒ บทที่ ๓ ของรายงานการวิจัยฉบับนี้