Page 87 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 87

๗๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  สภาวะปกติ โดยไม่มีการกลั่นกรองตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย และสถานการณ์การสู้รบใน

                  ประเทศต้นทางอย่างแท้จริง



                         ประเทศไทยควรก าหนดให้มีการตรวจสอบว่าการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ จะท าให้ผู้ลี้ภัยมีความ

                  เสี่ยงที่จะได้รับอันตายในสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ และหากการส่งกลับจะท าให้ผู้ลี้ภัยมีความเสี่ยงดังกล่าว

                  ประเทศไทยต้องไม่ถูกผลักดันผู้ลี้ภัยกลับประเทศ โดยในระหว่างรอให้สถานการณ์การสู้รบในประเทศ

                  ต้นทางยุติ ประเทศไทยควรจัดให้ความคุ้มครองชั่วคราว (temporary  protection)  โดยร่วมมือกับองค์กร


                  ระหว่างประเทศ และ หน่วยงานภาคประชาสังคม โดยหลักเกณฑ์ของการคุ้มครองชั่วคราวนั้นต้อง

                  สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ เช่น อนุสัญญาว่าด้วย

                  สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  แต่ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองชั่วคราวโดย

                  ไม่ควรยืดขยายออกไปโดยไม่จ าเป็น และต้องถูกแทนที่ด้วยมาตรการที่ยั่งยืน และความคุ้มครองชั่วคราวนี้

                  ควรสิ้นสุดลงเมื่อผู้อพยพสามารถกลับคืนสู่ประเทศต้นก าเนิดได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี



                         ๔.๑.๒  ต้องแจ้งผู้ลี้ภัยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาตามสมควรก่อนการส่งกลับ


                         เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผู้ลี้ภัยล่วงหน้าก่อนการส่งกลับเป็นระยะเวลาตามสมควร โดยก าหนดเวลา

                  เพียงพอให้ผู้ลี้ภัยเตรียมตัวเพื่อเดินทางกลับและให้ผู้ลี้ภัยได้พิจารณาว่าจะคัดค้านการส่งกลับหรือไม่ หาก


                  ประสงค์จะส่งกลับผู้ลี้ภัยจะต้องแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อองค์กรที่เป็นกลางและเป็ นอิสระจากองค์กร

                  ซึ่งเป็นผู้ท าค าสั่งดังกล่าว  สิทธิในกระบวนการคัดค้านค าสั่งดังกล่าวเป็นหลักการทั่วไปของกฎหมายสิทธิ

                  มนุษยชนที่บุคคลมีสิทธิในการได้รับการเยียวยาและการเรียกร้องได้รับกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรม


                         ๔.๑.๓  ก าหนดช่องทางให้ผู้ลี้ภัยสามารถคัดค้านการส่งกลับต่อองค์กรที่เป็นกลาง และ

                  เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ออกค าสั่งให้ส่งกลับ


                         เมื่อผู้ลี้ภัยได้ร้องคัดค้านการส่งกลับ ประเทศไทยควรก าหนดให้มีองค์กรที่ท าหน้าที่พิจารณา

                  ค าร้องดังกล่าว โดยเป็นองค์กรที่เป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่ท าค าสั่งส่งกลับ ทั้งนี้ ในระหว่าง


                  กระบวนพิจารณานั้น ผู้ลี้ภัยควรจะได้รับค าปรึกษาจากทนายความเพื่อการปกป้ องและคุ้มครองสิทธิของ

                  ผู้ลี้ภัย และจะต้องเลื่อนการส่งตัวผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศระหว่างการพิจารณาค าคัดค้านดังกล่าว
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92