Page 153 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 153
4) หลังจากเลิกประกอบกิจการเหมืองหินอุตสาหกรรม มาตรการที่ก าหนดให้ปรับปรุงทัศนอุจาดตาม
เงื่อนไขท้ายประทานบัตรเดิมยังไม่เพียงพอ ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขท้ายประทานบัตรให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการฟื้นฟูทั้งสิ้น และก าหนดให้มีการวางเงินประกันให้เพียงพอแก่การฟื้นฟูรวมทั้งในการฟื้นฟูควรเปิดโอกาสให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและก ากับดูแล
5) ควรออก กฎกระทรวง หรือ ระเบียบ ในการเว้นระยะห่างระหว่างพื้นที่ประกอบกิจการเหมืองหิน
อุตสาหกรรมและโรงโม่หิน กับ แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ให้มีระยะห่างมากพอสมควรที่กิจการดังกล่าวจะไม่
ส่งผลกระทบต่อแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ
6.1.10 กรณีเหมืองแร่ประเภทอื่นนอกจากเหมืองหินอุตสาหกรรม
1) ในระหว่างการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะต้องมีกระบวนการจัดท า
เอกสารที่มีเนื้อหาทั้งด้านดีและผลกระทบอย่างครบถ้วนเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และ
ั
จัดประชุมรับฟงความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นระยะๆ และหลังจากจัดท ารายงานการ
วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นควรมีกระบวนการเช่นเดียวกัน
2) ในระหว่างประกอบกิจการเหมืองแร่ ต้องเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เข้า
มามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการประกอบกิจการให้เป็นไปตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต หรือเงื่อนไขท้ายประทาน
บัตร หากมีผลกระทบหรืออันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน ต้องให้กิจการดังกล่าวหยุดชั่วคราวทันที จนกว่าผู้
ั
ประกอบกิจการจะมีการแก้ไขปญหาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
3) ในระหว่างประกอบกิจการและหลังประกอบกิจการเหมืองแร่ ในการปรับปรุงและฟื้นฟูตามเงื่อนไข
ท้ายประทานบัตร ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขท้ายประทานบัตรให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบในการฟื้นฟูทั้งสิ้น และ
ก าหนดให้มีการวางเงินประกันให้เพียงพอแก่การฟื้นฟู รวมทั้งในการฟื้นฟูควรเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและก ากับดูแล
4) ค่าภาคหลวงแร่ ส าหรับกิจการบางประเภท เช่น ทองค า ต ่ามาก ไม่คุ้มค่าต่อทรัพยากรอันมีค่าที่
ใช้แล้วหมดไป สมควรปรับปรุงใหม่ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมคุ้มค่า
5) การออกเอกสารสิทธิ์ภายหลังจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ ต้องตรวจสอบจากค าขอประทาน
บัตรว่า ที่ดินที่ขออนุญาตประกอบกิจการเหมืองแร่เดิม เป็นที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์อยู่แต่เดิมก่อน
ประกอบกิจการ หากเป็นที่ดินของรัฐต้องเป็นที่ดินของรัฐตลอดไป และด าเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกไปโดย
ไม่ชอบดังกล่าว
6.1.11 กรณีดูดทรายแม่น ้า
1) กิจการดูดทรายทุกขนาด จะต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยที่สุดในระดับการ
จัดท ารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Evaluation: IEE) พร้อมทั้งจัดท า
เอกสารเผยแพร่ที่มีเนื้อหาทั้งด้านดีและผลกระทบอย่างครบถ้วน ต้องมีการประชุมกลุ่มย่อยเป็นระยะๆ เพื่อให้
ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกราย ได้ร่วมพิจารณาและร่วมตัดสินใจอย่างโปร่งใส
2) ในการก าหนดแนวเขตที่อนุญาตให้มีการดูดทราย ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมี
ส่วนร่วมตั้งแต่การก าหนดแนวเขตที่ชัดเจน การประกอบกิจการว่าอยู่ในอาณาเขตที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และแสดง
แผนผังแนวเขตที่ได้รับอนุญาตในบริเวณที่ประกอบกิจการให้ชัดเจน
3) ในระหว่างประกอบกิจการดูดทราย หากการประกอบกิจการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และชุมชน จะต้องให้ผู้ประกอบกิจการหยุดประกอบกิจการชั่วคราวทันที จนกว่าผู้ประกอบกิจการจะมีการแก้ไข
ั
ปญหาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
138