Page 156 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 156
จากโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวถูกปล่อยปละละเลย ไม่มีการติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวด จนก่อให้เกิด
ผลกระทบขึ้น
ั
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปญหาดังกล่าว หน่วยราชการที่มีอ านาจหน้าที่โดยตรงในการติดตามตรวจสอบและ
ก ากับดูแลการประกอบกิจการโรงงาน เช่น กรมควบคุมมลพิษ ควรสร้างเครือข่ายประชาชนต่อต้านมลพิษจาก
โรงงานอุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่ โดยให้เครือข่ายประชาชนนี้สามารถ เข้าไปตรวจสอบข้อมูลการประกอบกิจการ
โรงงานที่สงสัยว่า อาจเป็นผู้ก่อมลพิษขึ้นได้โดยไม่ถือเป็นผู้บุกรุก และก าหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้อง
เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อเครือข่ายประชาชนโดยไม่มีเงื่อนไข และเมื่อตรวจสอบแล้วได้ผลประการใด ให้รายงาน
ผลการตรวจสอบมายังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามอ านาจหน้าที่ต่อไป
4) กรณีที่การประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมใดได้ก่อให้เกิดมลพิษขึ้น ควรให้โรงงาน
อุตสาหกรรมดังกล่าวระงับการประกอบกิจการชั่วคราว เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานด าเนินการปรับปรุงแก้ไข
ั
ปญหามลพิษให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงอนุญาตให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้นประกอบกิจการได้อีกครั้ง ไม่ควรให้
ั
ด าเนินการแก้ไขในขณะที่ยังประกอบกิจการไปด้วย เพราะจะ ไม่สามารถแก้ไขปญหาได้แท้จริง
จะเห็นได้ว่า ในการริเริ่มโครงการที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และประชาชน หน่วยงานรัฐ
ั
และรัฐบาลจะต้องด าเนินการตามขั้นตอนแห่งกฎหมายที่ก าหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะต้องรับฟงความคิดเห็นของ
ประชาชนก่อนที่จะริเริ่มโครงการ และจะต้องให้ความส าคัญต่อความคิดเห็นของประชาชนอย่างเคร่งครัด และภาครัฐ
จะต้องพิจารณาหาแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลและยั่งยืน ด้วยการศึกษา
ภาพรวมของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ถึงความเหมาะสมในการใช้ จัดการ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นี้จะ
เป็นแนวทางลดความขัดแย้งและยุติการละเมิดสิทธิได้อย่างเป็นรูปธรรม
6.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องท าการศึกษากฎหมายที่มีการ
ั
ั
ใช้บังคับอยู่ในปจจุบัน ว่า มีความสอดคล้องกับการบังคับใช้ต่อกรณีปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ มากน้อย
้
เพียงใด เพื่อให้มีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน และพิทักษ์ปกปองคุ้มครอง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- หน่วยงานที่มีอ านาจหน้าที่ตามกฎหมาย จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นับแต่
เริ่มต้นการริเริ่มโครงการ การประกอบกิจการ หรือการก่อสร้างโครงการ ไปจนถึงการสิ้นสุดโครงการหรือการสิ้นสุด
การประกอบกิจการที่จะต้องมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
- หน่วยงานที่มีอ านาจในการก ากับดูแลการประกอบกิจการ ต้องพร้อมที่จะใช้อ านาจของตนลงโทษ
กรณีที่มีผู้ประกอบการที่กระท าผิดกฎหมาย หรือเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ
- ควรมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อให้อ านาจหน้าที่แก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ชัดเจน
และมีผลบังคับได้จริง เพราะจากการศึกษารายงานพบว่า ในหลายๆกรณีเมื่อหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่มีอ านาจบังคับให้ปฏิบัติตามได้ คงเพียงแต่รายงานต่อรัฐสภาเท่านั้น
- จะต้องมีการทบทวนกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้อ านาจแก่หน่วยงานในการปฏิบัติหน้าที่ และควร
แก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่เป็นกฎหมายหรือข้อบังคับที่ละเมิดต่อสิทธิของประชาชน
141