Page 96 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 96
ในการทำาวิจัยครั้งนั้น พระองค์ทรงเน้นถึงพืชที่เกษตรกรควรจะปลูกว่าต้องเป็นพืชที่ตลาด
ต้องการ และต้องแสดงให้เห็นว่าพืชที่ปลูกนั้นสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมีคุณภาพดี
เพื่อจะใช้เป็นความรู้เบื้องต้นของธุรกิจการเกษตร พระองค์ทรงเน้นว่า การที่เกษตรกรจะทำาการเกษตร
ได้ผลดีที่สุดนั้น ต้องมีความรู้ในวิชาการเกษตร หลักการตลาดและหลักเศรษฐศาสตร์ด้วย
ด้วยเหตุที่การเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ แต่การเพิ่มอัตราการเจริญ
เติบโตโดยให้การทำาเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำาให้เกิดปัญหาดินสึกกร่อนและหมดความ
อุดมสมบูรณ์อย่างน่าเป็นห่วง กล่าวคือ เมื่อการทำาไร่ทำานาแบบที่พัฒนามาจากประเทศตะวันตก
ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเกษตรที่เกษตรกรปลูกพืชอย่างเดียว
คือ ข้าวที่มีคุณภาพสูง และมีรายได้จากการขายข้าวเท่านั้น เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลดีหรือต้องใช้ปุ๋ยราคาแพง
เกษตรกรจึงเกิดความขาดแคลน และไม่มั่นคง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและจึงมี
พระวิริยะที่จะทรงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้ดีขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาดังกล่าวก่อน
ที่จะเน้นการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออกเป็นหลัก พระองค์มีพระราชดำารัสเน้นการมีเศรษฐกิจ
แบบพอมีพอกินไว้ ความว่า
“การจะเป็นเสือนั้นไม่สำาคัญ สำาคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน
แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
พระองค์มีพระราชดำาริให้หาหนทางแก้ปัญหาความต้องการของชาวไร่ชาวนาที่สามารถปฏิบัติ
ได้จริง ทรงยกตัวอย่างข้าวเป็นแบบอย่างของการแก้ปัญหาว่า
96 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น