Page 95 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 95

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใส่พระราชหฤทัยต่อการที่จะทรงอุทิศพระองค์เพื่อพัฒนา

               ความเป็นอยู่ของปวงชนชาวไทยให้ดี ทรงเห็นว่าการพัฒนาด้านเกษตรกรรมนั้นเป็นหลักสำาคัญของ
               การพัฒนาประเทศ เกษตรกรต่างประสบปัญหาความไม่รู้ทางวิชาการ ความยากจน และโรคภัยไข้เจ็บ

               ยิ่งราษฎรที่อยู่ไกลความเจริญด้วยแล้ว ยิ่งมีความลำาบากมาก และจำาเป็นต้องมีถนนหนทางไปมาได้
               สะดวกและมีแหล่งนำ้าสำาหรับการเพาะปลูก


                      พุทธศักราช ๒๔๙๖ พระองค์ได้โปรดให้มีการพัฒนาแหล่งนำ้าโครงการแรก โดยสร้างอ่าง
               เก็บนำ้าเขาเต่าขึ้นที่อำาเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่ราษฎร
               ดังพระราชดำารัสว่า


                             “เขาเต่าก็ทำามาตั้งแต่ปี ๒๔๙๕–๒๔๙๖ เขาเต่านั้นก็เริ่มโครงการเขาเต่า
                      ถ้าเราเปิดตรงเขาเต่า นำ้าฝนตกลงมาก็จะเป็นบึง เป็นอ่างเก็บนำ้าใช้ได้...”


                      เนื่องจากเกษตรกรในขณะนั้นต่างมีปัญหาเรื่องผลผลิตตำ่า ด้วยยังใช้วิธีการที่ล้าสมัย และทำาการ
               เพาะปลูกได้ปีละครั้งจึงไม่มีผลผลิตพอที่จะเลี้ยงดูตนเองได้ ผลผลิตที่ได้รับนั้นจึงเป็นเพียงบริโภคใน
               ครัวเรือนซึ่งไม่สามารถผลิตเพื่อการค้าได้ หากไม่รวมกลุ่มหรือจัดตั้งสหกรณ์แล้วก็จะถูกพ่อค้าคนกลาง

               หรือผู้ซื้อเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย จำาเป็นที่รัฐต้องช่วยเหลือด้านการทำาวิจัยและทดลอง ซึ่งยังมีไม่พอ
               ครั้นเมื่อรัฐบาลอิสราเอลเข้ามาร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโครงการความร่วมมือ

               ระหว่างไทยกับอิสราเอลเพื่อพัฒนาชนบทขึ้นที่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีพื้นที่ติดกับอำาเภอหัวหินมีการทำาวิจัย
               ด้านการเกษตร รวมทั้งวิจัยการตลาดด้วย โดยอาศัยพื้นที่โครงการในระยะบุกเบิกที่หมู่บ้านหุบกระพง
               อำาเภอชะอำา จังหวัดเพชรบุรี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประมาณ ๕๐๐ ไร่


                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  95
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100