Page 101 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 101
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภถึงการดำาเนินการในรูปบริษัทนี้ว่า
“การที่จะให้การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพปึกแผ่นมั่นคงได้นั้น ผู้เลี้ยงโคนมควรจะ
ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์ เพื่อสมาชิกจะได้รับประโยชน์มากที่สุด
แต่ระหว่างที่สหกรณ์ยังไม่พร้อมนั้น ควรให้จัดตั้งในรูปบริษัทที่ไม่ได้มุ่งหวังกำาไร
บรรดาเงินกำาไรสุทธิที่บริษัทหาได้จากการจำาหน่ายผลิตภัณฑ์นั้น จึงไม่มีการแบ่งกำาไร
ให้กับผู้ถือหุ้น แต่ให้บริษัทนำากำาไรสุทธิส่วนหนึ่งให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ซึ่งนำานมสด
มาขายให้แก่โรงงานนมผงเป็นประจำาและอีกส่วนหนึ่งของกำาไรเข้ากองทุนสะสม
เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของบรรดาบุตรหลานสมาชิก กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม อันจะเป็น
ประโยชน์แก่สหกรณ์และท้องถิ่น”
การส่งเสริมสหกรณ์โคนมอย่างเป็นระบบนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำารัส
ที่พระราชทานแก่คณะกรรมการดำาเนินงานสร้างโรงงานนมผง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช
๒๕๑๓ ความตอนหนึ่งว่า
“...วิธีที่จะให้ผู้ผลิตนมโคสามารถจำาหน่ายนมได้ก็มีทางเดียวก็คือตั้งโรงงาน
แล้วให้โรงงานนั้นเป็นของผู้ผลิต มิใช่ว่าบริษัทฝรั่งหรือญี่ปุ่นมาลงทุนสร้างโรงงาน
แปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าต่อไปนั้น ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่เรารับไม่ได้
เพราะว่าเกิดเรื่องอยู่เสมอที่จะต้องมีการทะเลาะวิวาทระหว่างผู้ผลิตคือผู้ที่ผลิตนมโค
ผู้ที่เลี้ยงโคนมกับผู้ที่แปรสภาพมาทำาเป็นนมกระป๋อง เป็นนมผง เนยแข็ง เนยสด หรือ
เนยอะไรก็ตาม คือถ้าตั้งเป็นบริษัทแปรสภาพและขายนมสดให้ จะต้องเกิดเรื่อง
อยู่เสมอ แต่ถ้าผู้ที่ผลิตวัตถุดิบกับผู้ที่แปรสภาพเป็นเจ้าของเดียวกันจะไม่เกิดปัญหา
เพราะว่าทำากันเอง แต่การทำากันเองนี้มีความลำาบากอยู่ที่ต้องมีวินัยอยู่มาก ต้องมีความ
เสียสละเพื่อส่วนรวมของกิจการอย่างสำาคัญ ถ้าตั้งในรูปโรงงานสหกรณ์ก็จะเป็นการดี
แต่ถ้าสร้างในรูปโรงงานสหกรณ์ไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม ก็เห็นควรเลิกล้มกิจการ
เพราะว่าจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง…..”
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 101