Page 93 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 93

“จึงทำาทฤษฎีใหม่เพื่อที่จะให้ประชาชนมีโอกาสทำาเกษตรกรรมให้พอกิน
                      ถ้านำ้ามีพอดีในปีไหน ก็สามารถที่จะประกอบการเกษตร หรือปลูกข้าวที่เรียกว่า นาปีได้

                      ถ้าต่อไปในหน้าแล้งนำ้ามีน้อย ก็สามารถที่จะใช้นำ้าที่กักไว้ในสระเก็บนำ้าของแต่ละแปลง
                      มาทำาการเพาะปลูก แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ไม่ต้องไปเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่
                      เพราะมีของตัวเอง แต่ก็อาจจะปลูกผักหรือเลี้ยงปลาหรือทำาอะไร อื่นๆ ก็ได้”


                      ในการส่งเสริมทฤษฎีใหม่นั้น หน่วยงานราชการได้สนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำาการ
               เกษตรแบบผสมผสาน โดยเน้นการมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายแทนการ
               ปลูกพืชชนิดเดียว พระองค์ทรงแนะนำาให้ปลูกข้าวในฤดูทำานาที่มีการควบคุมการใช้นำ้า และปลูกพืชอื่นที่

               เหมาะสมในฤดูแล้ง เช่น ถั่ว เป็นต้น ที่ดินนั้นต้องจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐ :
               ๓๐ : ๓๐ : ๑๐  ซึ่งกำาหนดให้ขุดสระนำ้าตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับที่ดินสำาหรับใช้เก็บกักนำ้าเพื่อการ

               เพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชนำ้าด้วย โดยพระองค์ทรงคำานวณไว้ว่า พื้นที่เพาะปลูกพืช ๑ ไร่
               ต้องการนำ้าประมาณ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จึงจะมีนำ้าพอใช้ตลอดปี


                      การจัดการเกษตรให้มีรูปแบบยั่งยืนนี้ต้องอาศัยการกำาจัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ การจัดการ
               นำ้าและดิน การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชแบบผสมผสาน การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อบำารุงดินให้มีความอุดม
               สมบูรณ์ด้วย


                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  93
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98