Page 94 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 94

ผลของทฤษฎีใหม่นี้ได้ทำาให้เกษตรกรพากันปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ปลูกผักผลไม้ และพืชอื่นๆ
               เป็นพืชรอง แล้วยังมีการทำาการประมงและเลี้ยงสัตว์ด้วย เป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรต่อเนื่อง
               ทั้งปีโดยมีการสนับสนุนให้นำาข้าวและผลผลิตมารวมกันจำาหน่ายออกในรูปสหกรณ์


                      สหกรณ์จะร่วมกันช่วยเหลือด้านการผลิตตั้งแต่เลือกพืช การเตรียมดินและการชลประทาน
               รวมทั้งการหาตลาด การเก็บข้าวในยุ้งฉางของชุมชน และการทำาโรงสีข้าว โดยมีกองทุนให้ชุมชนกู้ยืม

               ทำากิจกรรมต่างๆ และกองทุนชุมชนนี้ต่อไปก็จะสามารถหาแหล่งเงินทุนภายนอก เช่น ธนาคารหรือ
               บริษัทสหกรณ์ สนับสนุนเป็นการช่วยให้เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูงขึ้นโดยซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร

               โดยตรงในราคาตำ่ากว่าปกติและนำาไปสีเอง ทำาให้เกษตรกรมีเงินสดใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคา
               ขายส่งได้

                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่าเกษตรกรมีความสำาคัญต่อเศรษฐกิจ

               ของประเทศ ดังปรากฏในพระราชดำารัส ความว่า

                             “เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศ

                      ที่ได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่างๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจ
                      กล่าวได้ว่า ความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำาคัญและ
                      งานทุกๆ ฝ่ายจะดำาเนินก้าวหน้าไปได้ ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ”


              94     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99