Page 49 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 49
ปัจจุบันสารานุกรมยังดำาเนินการตามพระราชประสงค์ต่อเนื่องทุกปี มีมากกว่า ๓๐ เล่ม และ
ยังมีแนวคำาถามคำาตอบสำาหรับเด็กและเยาวชนระดับต่างๆ ด้วย
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสนับสนุนให้บ้าน วัด โรงเรียน เป็นต้นแบบชุมชนที่เข้มแข็ง โดย
ให้หลัก “บวร” ได้แก่ บ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อให้มีการประสานการพัฒนาร่วมกันเพื่อก่อประโยชน์
สูงสุดในลักษณะที่มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรด
ให้มีการสร้าง “วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก” ขึ้นในที่ดินของราษฎรที่ถวาย เพื่อเป็นตัวอย่างจาก
ผลการดำาเนินการตามแนวพระราชดำาริ “บวร” ที่เกิดจากความร่วมมือในการทำากิจกรรมต่างๆ
เพื่อประโยชน์แก่สังคม ที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ระหว่าง บ้าน วัด
โรงเรียนของชุมชนในการเป็นศูนย์รวมแห่งความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาชุมชนและเป็นตัวอย่าง
การประสานความร่วมมือตามหลัก “บวร” และเป็นเมือง (ชุมชน) ตัวอย่าง ตามพระราชประสงค์
พระราชดำาริ “บวร” จึงเป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นแนวทางหลักของการพัฒนาชุมชน
ประชาธิปไตยที่ทรงหมายถึง บ้าน (คือ ราษฎร) วัด (คือ ศาสนา) และโรงเรียน (คือ ราชการ) นั้น ได้ประสาน
“การพัฒนาร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในลักษณะที่มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน”
กล่าวคือ บ้าน เป็นแหล่งพำานักพักพิงของสมาชิกในครอบครัว วัด เป็นพุทธสถานในการ
ฝึกอบรมตนเองของพระสงฆ์ และเป็นที่เผยแพร่พระธรรมคำาสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โรงเรียน
เป็นแหล่งฝึกอบรมให้ความรู้แก่กุลบุตร กุลธิดา ในชุมชน รวมถึงระบบราชการ ที่รับผิดชอบหน้าที่
แทนประชาชนด้วย
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 49