Page 45 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 45
พัฒนาชีวิตด้วยศิลป์และศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเห็นความสำาคัญของสิทธิทางการ
ศึกษาของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระราชดำาริส่งเสริมการศึกษาให้เข้าถึงปวงประชา
ทุกระดับอย่างทั่วถึงนับตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลจนถึงระดับประเทศ เริ่มจากการศึกษาของ
พระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์มีพระราชดำารัสว่า “โรงเรียนอะไรก็ไม่ดี เพราะครูๆ อาจตามใจ
ลูกๆ ฉัน แล้วทีนี้นักเรียนอื่นๆ อาจจะหัวแข็ง เกิดอิจฉาพวกเลือดเจ้าขึ้นมา ครั้นจะจ้างครูมา
สอนพิเศษก็ไม่ดีอีกนั่นแหละ ดังนั้นเราจึงตั้งโรงเรียนขึ้นในวัง สอนพวกลูกข้าราชการและคนที่ทำางาน
อยู่ในบริเวณนั้น”
พระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียนจิตรลดา เป็นโรงเรียนราษฎร์
ในเขตพระราชฐาน เพื่อพระองค์จะได้อบรมพระราชโอรสพระราชธิดาได้อย่างใกล้ชิด แม้ว่า
พระราชโอรสพระราชธิดาจะจบการศึกษาไปแล้ว พระองค์ทรงพระราชทานโรงเรียนนี้ดำาเนินการต่อไป
นอกจากนี้พระองค์ยังสนพระราชหฤทัยในการจัดให้มีการศึกษาในระบบทางไกลขึ้นที่โรงเรียนวังไกลกังวล
ซึ่งได้ทดลองเผยแพร่ออกอากาศให้โรงเรียนอื่นๆ ได้เรียนรู้และนำาวิธีสอนไปใช้ด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีวิธีอบรมพระราชโอรสพระราชธิดาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ
เรื่อง การเรียนรู้วิชาต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงเล่าให้ศาสตราจารย์วิลมอตต์ แรดสเดล (Prof.Wilmott
Ragsdale) ฟังว่า
“ฉันพยายามให้ลูกชายของฉันเองค่อยๆ สนใจวิทยาศาสตร์ทีละน้อยๆ เขามี
จรวดเล็กเล่นอยู่อันหนึ่ง ซึ่งฉันเคยสอนถึงเรื่องความสำาคัญของจรวด เขายิงจรวดไป
ยังเกาะในทะเลสาบเล็กๆ ของเรา แล้วก็พายเรือไปเอามา
ฉันบอกเขาว่า นักวิทยาศาสตร์กว่าจะทำาอะไรสำาเร็จ เขาต้องรอทำางานอย่าง
เหน็ดเหนื่อย ความจริงก็มีบ่อยครั้งที่ฉันไม่เข้าใจลูกชายของฉันว่าเขาคิดอะไร เขามี
รถยนต์คันเล็กๆ คันหนึ่ง เขาถอดเอาเครื่องยนต์ออกหมดโดยไม่สนใจว่ามันจะวิ่งได้
หรือไม่ เอาหลังคาออก เครื่องซุบออกเสีย มันยังเล่นได้ดี
ต่อมาเขาก็เอาล้อและเครื่องยนต์ออกอีก ฉันถามเขาว่า แล้วจะทำาอะไร
ต่อไปอีก เขาตอบว่า ชายก็เดินไปสิ”
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 45