Page 46 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 46
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีพระมหากรุณาธิคุณมาเป็นครูทำาการสอน
เรื่อง การทำาฝนเทียมให้นักเรียนโรงเรียนไกลกังวลอีกด้วย
“การศึกษาเป็นปัจจัยสำาคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความ
ประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชน
ได้อย่างครบถ้วน พอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคม บ้านเมืองนั้นก็จะมีคุณภาพ ซึ่งสามารถ
ธำารงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาให้ก้าวต่อไปได้ตลอด...”
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔)
ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์
ส่วนพระองค์สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนในหลายแห่งหลายพื้นที่ เพื่อส่งเสริมความทัดเทียมทางการ
ศึกษาให้แก่เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ได้แก่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวง (โรงเรียนเด็กชาวเขา) และโรงเรียนร่มเกล้า
เป็นต้น รวมถึงโรงเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา พระองค์ทรงริเริ่มโครงการพระดาบส ในปีพุทธศักราช
๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดตั้ง “โรงเรียนพระดาบส” เพื่อจัดการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไป
ไม่จำากัดเพศ วัยและความรู้หรือฐานะ สำาหรับช่วยเหลือครอบครัวยากจนและมีปัญหา รวมทั้งทหาร
ตำารวจ พลเรือนที่ผ่านศึกและทุพพลภาพ ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาทั่วไปได้ โดยมีครู
ผู้ฝึกอาสาสมัครที่ต่างเสียสละเวลามาช่วยเหลือบุคคลที่เคยเสียสละเพื่อชาติมาแล้ว วิชาแรกที่เปิดสอน
คือ ช่างวิทยุ ช่างไฟฟ้า มีผู้เรียน ๙ คน
46 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น