Page 27 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 27
สิทธิพระราชทานสู่ชาวประชา
การสร้างอาณาจักรและปกครองแผ่นดินทั้งในระบอบราชาธิราช และระบอบประชาธิปไตยนั้น
มีการสร้างปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ และมีกรอบในเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนามนุษย์แตกต่างกัน
ไปตามยุคสมัย พระมหากษัตริย์และผู้นำาของแผ่นดินทั่วโลกจึงมีหน้าที่สำาคัญต่อการสร้างอาณาจักร
และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมแต่ละยุคสมัย
ประเทศไทยเป็นสังคมของความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยพระบารมีแห่งสมเด็จพระมหากษัตริยา
ธิราช ผู้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมและทรงเป็นพระมหาธรรมราชา พระองค์พระราชทานสิ่งที่เป็นปัจจัย
พื้นฐานในแนวทางสิทธิมนุษยชนดังหลักฐานที่เห็นได้จากหลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัย กฎหมายและ
ประกาศต่างๆ ซึ่งล้วนแต่ให้ประชากรนั้นมีสิทธิในเรื่องต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนราชวงศ์และการสร้าง
รูปแบบการครองแผ่นดิน
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพลเมือง นอกจากการเกิดมามีชีวิตอยู่ การมีอิสรภาพในความคิดเห็น
และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ยังมีการสร้างสังคมให้พลเมืองมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน และมีสิทธิ
เสรีภาพได้ตามลำาดับจนสามารถให้พลเมืองพ้นจากลักษณะทาส เป็นไทโดยสมบูรณ์ อีกทั้งยังได้รับสิทธิ
ในการมีส่วนร่วมในการดูแลบ้านเมืองและทำาหน้าที่สำาคัญของประเทศตามความสามารถ โดยเฉพาะ
มีกฎหมายรองรับสิทธิความเป็นมนุษย์ ป้องกันการละเมิดสิทธิและการเอาเปรียบในสังคม อันเป็น
แนวทางหนึ่งให้สังคมมีความสุขสันติและมีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของทุกคนเพิ่มขึ้นด้วย
สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยนั้น มีพ่อขุน คือพระเจ้าแผ่นดิน ปกครองแผ่นดิน
พ่อขุนจึงเป็นผู้นำาให้ราษฎรมีความสุขและประเทศมั่นคงมาช้านาน
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 27