Page 67 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 67
ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดแจ้ง การรับจดแจ้ง และการเลือกกันเอง
ขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยที่เป็นการสมควรก าหนดให้มีระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจดแจ้ง การรับจดแจ้ง และการเลือกกันเองขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
และสภาวิชาชีพ
อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๖๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจดแจ้ง การรับจดแจ้ง และการเลือกกันเองขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
และสภาวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๖๑”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๑
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
รับรององค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“องค์กรเอกชน” หมายความว่า องค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
๒
“สภาวิชาชีพ” หมายความว่า สภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข และสภาวิชาชีพ
สื่อมวลชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
“ค าขอ” หมายความว่า ค าขอรับการจดแจ้งเป็นองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและ
สภาวิชาชีพ
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
๑
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๒๔/๑๘ มกราคม ๒๕๖๑
๒ ข้อ ๔ บทนิยามค าว่า “สภาวิชาชีพ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดแจ้ง การรับจดแจ้ง และการเลือกกันเองขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและ
สภาวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓
56