Page 442 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 442

สิ่งที่ควรกระท าเมื่อถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
                                1. แสดงออกทันทีว่าไม่พอใจในการกระท าของผู้กระท า และถอยห่างจากการล่วงละเมิด

                  หรือคุกคามทางเพศนั้น
                                2. ส่งเสียงร้องเพื่อให้ผู้กระท าหยุดการกระท า และเรียกผู้อื่นช่วย
                                3. บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือถ่ายภาพ หรือถ่าย video
                  clip (หากท าได้)

                                4. บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น โดยจดบันทึก
                  วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ ค าบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสั้น ๆ ชื่อของพยานและหรือบุคคลที่สาม
                  ซึ่งถูกกล่าวถึง หรืออยู่ในเหตุการณ์
                                5. แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที

                                6. หารือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน และแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับ
                  ผู้บังคับบัญชา บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับเรื่องร้องเรียนด้วยตนเอง โดยอาจให้เพื่อนร่วมงาน
                  เป็นที่ปรึกษาหรือร่วมไปเป็นเพื่อนก็ได้
                                7. กรณีผู้ถูกกระท าอายหรือกลัว อาจให้เพื่อนมาแจ้งแทน แต่ต้องได้รับความยินยอมจาก

                  ผู้ถูกกระท า

                  กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ
                                การยุติปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศจะใช้กระบวนการอย่างไม่เป็นทางการในการ

                  แก้ไขปัญหาเป็นล าดับแรก
                                1. สิ่งที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศต้องด าเนินการ
                                  1.1 ในกรณีที่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ ให้พูดหรือเขียนถึงผู้กระท าเพื่อแจ้งให้
                  ผู้กระท าทราบพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับและร้องขอให้หยุดการกระท า ผู้ถูกกระท าอาจขอให้มีคนอยู่เป็นเพื่อน

                  หรือพูดในนามตนเองได้
                                  1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ให้ด าเนินการ ดังนี้
                                    1.2.1 ร้องขอความช่วยเหลือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระท า หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น
                  และให้ผู้บังคับบัญชาด าเนินการค้นหาข้อเท็จจริงภายใน 15 วัน หากไม่ด าเนินการใด ๆ ถือว่า เป็นการละเลย

                  ต่อการปฏิบัติหน้าที่
                                    1.2.2 ร้องขอบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือจัดให้มีการประชุมหารือ
                  ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางยุติอย่างไม่เป็นทางการ หรือผู้ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือในการยุติเรื่อง
                  ดังกล่าว ซึ่งมีก าหนดเวลา 15 วัน เช่นเดียวกัน

                                2. สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาหรือส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องด าเนินการ
                                  2.1 ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบคอบ และแจ้งมาตรการในการแก้ไขปัญหา
                  ดังกล่าวให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 30 วัน หากด าเนินการไม่เสร็จในก าหนดดังกล่าว ให้ขยายเวลาออกไปได้
                  อีก 30 วัน

                                  2.2 ให้ค าแนะน าหรือการสนับสนุนผู้ร้องเรียนและผู้ถูกกล่าวหาอย่างเท่าเทียมกัน
                  และจะไม่ถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด จนกว่าข้อกล่าวหาจะได้รับการพิสูจน์ว่ากระท าผิดจริง
                                  2.3 เป็นตัวกลางในการเจรจาแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการและเป็นการลับ โดยจัดการ

                  แก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม เช่น เจรจากับผู้กระท าเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือ
                  คุกคามทางเพศเกิดขึ้นอีก จัดการเจรจาประนอมข้อพิพาทระหว่างคู่ความซึ่งได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย





                                                                                                                431
   437   438   439   440   441   442   443   444   445   446   447