Page 440 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 440
แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
ของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
จัดท าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ได้รับการปฏิบัติ
ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และปราศจากการถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน ทุกคนต้องรับผิดชอบ
ในการกระท าและปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะสร้างและรักษา
สภาพแวดล้อมในการท างานให้ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ด้วยการสร้างความตระหนัก
การสร้างความรู้ความเข้าใจ การก าหนดมาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และจะด าเนินการ
ต่อกรณีการร้องเรียนเรื่องการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศอย่างทันท่วงที รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อม
และมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะท าให้เกิดการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศขึ้น
การล่วงละเมิดหรือการคุกคามทางเพศ คือ
การกระท าใด ๆ หรือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางเพศที่เป็นการบังคับ การใช้อ านาจที่ไม่พึง
ปรารถนาด้วยวาจา ข้อความ ท่าทาง แสดงด้วยเสียง รูปภาพ เอกสาร ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งของ
ลามกอนาจารเกี่ยวกับเพศ หรือกระท าอย่างอื่นในท านองเดียวกันโดยประการที่น่าจะท าให้ผู้อื่นได้รับ
ความเดือดร้อนร าคาญ ได้รับความอับอาย หรือรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม และให้หมายรวมถึงการติดตามรังควาญ
หรือการกระท าการใดที่ก่อให้เกิดบรรยากาศไม่ปลอดภัยทางเพศ โดยเฉพาะจากการสร้างเงื่อนไข ซึ่งมีผลต่อ
การจ้างงาน การสรรหา หรือการแต่งตั้ง หรือผลกระทบอื่นใดต่อผู้เสียหายทั้งในหน่วยงานของรัฐ เอกชน
และสถาบันการศึกษา
พฤติกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
1. บุคลากรของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา
2. บุคลากรของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรลดความเสี่ยงจากปัญหา
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ เช่น แต่งกายให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ลับตาหรือท างาน
สองต่อสองกับผู้บังคับบัญชา/ผู้ที่ไม่สนิทสนม/เพศตรงข้าม หรือมีผู้ที่ไว้วางใจอยู่ด้วยในกรณีถูกเรียกเข้าพบ
หรือได้รับมอบหมายนอกเวลาท างาน เป็นต้น
3. บุคลากรของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรช่วยสอดส่องและรายงาน
พฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อบุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ควรเพิกเฉยหากมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน และควรให้ค าปรึกษา
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนร่วมงานด้วย
4. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรท าตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และมีหน้าที่โดยตรงในการป้องกัน
ปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
5. ในกรณีผู้บังคับบัญชาเรียกผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานในห้อง โดยเฉพาะนอกเวลาท างาน
หรือไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ สองต่อสอง ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาระดับต้นรับทราบก่อน
ทุกครั้ง
6. บุคลากรควรมีจิตส านึกรักศักดิ์ศรี ภาคภูมิใจในผลการท างานของตนเอง เห็นคุณค่า
การท างานของตนเองมากกว่าที่จะก้าวหน้าโดยวิธีอื่น
429