Page 270 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 270
๑๒
ข้อ ๕๗ สัญญาการยืมเงินให้จัดท าขึ้นสองฉบับ เมื่อผู้ยืมได้รับเงินตามสัญญาการยืมแล้ว
๗
ให้ลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญาการยืมเงินทั้งสองฉบับ พร้อมกับมอบให้หน่วยเบิกจ่ายผู้ให้ยืมเก็บรักษา
ไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ และให้ผู้ยืมเก็บไว้หนึ่งฉบับ
กรณีท าสัญญายืมเงินเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้เจ้าหน้าที่การเงินพิมพ์สัญญายืมเงินออกจาก
ระบบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานการจ่าย
ข้อ ๕๘ การเบิกจ่ายเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินยืมจากเงินงบประมาณ ให้กระท าได้เฉพาะรายจ่าย
ดังต่อไปนี้
(๑) รายการค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
(๒) รายการค่าสาธารณูปโภคเฉพาะค่าบริการไปรษณีย์
การเบิกจ่ายเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินยืมจากเงินสดย่อย ให้กระท าได้เฉพาะรายจ่ายตามข้อ ๑๑
ยกเว้นค่าครุภัณฑ์
ข้อ ๕๙ กรณีที่ต้องจ่ายเงินยืมส าหรับการปฏิบัติราชการที่ติดต่อคาบเกี่ยวจากปีงบประมาณปัจจุบัน
ไปถึงปีงบประมาณถัดไป ให้เบิกเงินยืมงบประมาณในปีปัจจุบัน โดยให้ถือว่าเป็นรายจ่ายของงบประมาณ
ปีปัจจุบัน และให้ใช้จ่ายเงินยืมคาบเกี่ยวปีงบประมาณถัดไป ดังต่อไปนี้
(๑) ส าหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้ใช้จ่ายได้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันเริ่มต้น
ปีงบประมาณใหม่
(๒) ส าหรับกรณีอื่น ๆ นอกจาก (๑) ให้ใช้จ่ายได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่
ข้อ ๖๐ การจ่ายเงินยืมจากเงินรายรับประเภทอื่น ให้กระท าได้เฉพาะเพื่อใช้จ่ายในการด าเนินงาน
ตามวัตถุประสงค์ของเงินรายรับประเภทนั้น
ข้อ ๖๑ การจ่ายเงินยืมเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้จ่ายได้ส าหรับ
ระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวัน หากจ าเป็นต้องจ่ายเกินกว่าก าหนดเวลาดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ
ข้อ ๖๒ ผู้ยืมจะต้องใช้เงินยืมตามที่ระบุไว้ในรายการและวัตถุประสงค์ในสัญญาการยืมเงินเท่านั้น
ข้อ ๖๓ ให้ผู้ยืมส่งหลักฐานการจ่ายที่ถูกต้องและหรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายในก าหนดระยะเวลา
ดังนี้
(๑) กรณีเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรชั่วคราวหรือการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
ให้ส่งแก่หน่วยเบิกจ่ายผู้ให้ยืมภายในสิบห้าวันนับจากวันกลับมาถึง
๗ ข้อ ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยการรับ การจ่าย และการเก็บรักษาเงิน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๖
259