Page 240 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 240
ความรุนแรงต่อสตรีมีหลายรูปแบบเช่น
• ความรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้น
ในครอบครัว การทุบตี การทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กผู้หญิงในบ้าน
การข่มขืนโดยคู่สมรส การขริบอวัยวะเพศสตรี และข้อปฏิบัติตาม
ประเพณีต่าง ๆ อันเป็นอันตรายต่อสตรี ความรุนแรงที่ไม่ได้เกิด
จากคู่สมรสและความรุนแรงที่เป็นการหาประโยชน์จากสตรี
• ความรุนแรงต่อร่างกาย ทางเพศและจิตใจที่เกิดขึ้นภายในชุมชนทั่วไป
รวมถึงการข่มขืน การทารุณกรรมทางเพศ การลวนลามทางเพศ
การข่มขู่ในสถานที่ทำางานในสถาบันการศึกษา และสถานที่ต่าง ๆ
การค้าหญิง และการบังคับให้ค้าประเวณี
• การที่รัฐเพิกเฉยต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสตรี
ความรุนแรงต่อสตรีเป็นอุปสรรคสำาคัญในการบรรลุซึ่งความเสมอภาค
การพัฒนา สันติภาพ และความก้าวหน้าของสตรี ความรุนแรงต่อสตรี
เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสตรี และทำาให้ประโยชน์ที่สตรี
จะได้รับจากสิทธิและเสรีภาพเหล่านั้น ต้องถูกทำาลายหรือลดน้อยลง
ความรุนแรงต่อสตรี เป็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น
กับผู้หญิงทั่วโลกมานานแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อและวัฒนธรรม
ที่เห็นว่าผู้ชายเป็นใหญ่ ซึ่งฝังลึกอยู่ในสังคม ดังนั้นใน ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537)
สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาเพื่อการยุติความรุนแรงต่อสตรีในอารัมภบท
ของปฏิญญาฯ ได้ชี้ให้เห็นรากเหง้าของปัญหาความรุนแรงต่อสตรีว่า
“ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมา
ของความสัมพันธ์เชิงอำานาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างบุรุษและสตรี ซึ่งนำาไปสู่
การครอบงำาและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีโดยบุรุษ และเป็นสิ่งที่ขัดขวางความ
ก้าวหน้าของสตรี และตระหนักว่าความรุนแรงต่อสตรีเป็นกลไกทางสังคม
ที่โหดร้ายอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้สถานะของสตรีเป็นรองเมื่อเปรียบเทียบกับบุรุษ”
เพื่อแก้ปัญหานี้ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรง
ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและสหประชาชาติได้กำาหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน
ของทุกปีให้เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อสตรี”
229