Page 132 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 132
1. สิทธิที่จะได้รับการแจ้ง
INFORMED, (กฎหมายอาญา)
THE RIGHT TO BE
2. สิทธิที่จะได้รับข้อมูล
1. สิทธิที่จะได้รับการแจ้ง สิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลผู้ถูกจับกุมตัว
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำานาจจับกุม เพื่อนำาตัวบุคคลนั้นดำาเนินการ
ตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้บุคคลที่ถูกจับกุมตัว
ได้ทราบข้อหาความผิดและการกระทำาที่เป็นความผิด รวมถึง
ได้ทราบสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นตามกฎหมายภายหลัง
ที่บุคคลนั้นถูกจับกุมตัว เช่น สิทธิที่จะไม่ให้การใด ๆ สิทธิที่จะได้
รับการแจ้งนี้ได้รับการยอมรับในระดับสากลทั้งในระบบกระบวนการ
ยุติธรรมระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ
กฎหมายของบางประเทศกำาหนดรับรองสิทธิในการรับแจ้งข้อหา
อย่างเดียว บางประเทศกำาหนดให้เจ้าหน้าที่ที่จับกุมต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา
ถ้าไม่แจ้งสิทธิถือว่าเป็นการจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การได้รับแจ้งข้อกล่าวหาทำาให้บุคคลที่ถูกจับกุมรู้ว่าสิ่งที่กระทำาลงไป
มีความผิดอย่างไร เพื่อสามารถอธิบายหรือโต้แย้งได้ นอกจากนั้น
เป็นการป้องกันไม่ให้รัฐจับกุม / ควบคุมตัวบุคคลตามอำาเภอใจ
กฎหมายไทยได้รับรองสิทธินี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ซึ่งบัญญัติว่า
“ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูก
จับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้ง
ด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำา
ของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะ
เป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งตน
ไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำาเนินการได้โดยสะดวก
และไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำาให้เกิด
ความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาต
121