Page 216 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 216

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน





             บทสรุป








                   คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
          เล่มนี้ เป็นคู่มือที่ได้พยายามเสนอแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงาน
          ของเจ้าหน้าที่ตำารวจ เพื่อมิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นทั้งในปัจจุบัน
          และในอนาคต  โดยพยายามเชื่อมโยงแนวทางดังกล่าว เข้ากับหลักสิทธิ
          มนุษยชนซึ่งเป็นหลักสากล หลักกฎหมายต่างๆ (เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ

          ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวล
          ระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและ
          วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ. คุ้มครอง

          ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปราม
          การค้ามนุษย์ ฯลฯ เหล่านี้) นอกจากนั้นยังรวมไปถึงประมวลจริยธรรม
          และจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ตำารวจที่นับว่าเป็นหลักที่สำาคัญอย่างยิ่ง
          ที่เจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้องยึดถือในการปฏิบัติอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่
          ตำารวจสามารถนำาไปปฏิบัติได้ในความเป็นจริง และเป็นการปฏิบัติที่ไม่ละเมิด

          สิทธิมนุษยชนดังกล่าวมาแล้ว
                   การเชื่อมโยงเช่นว่านี้ เป็นการเชื่อมโยงบนพื้นฐานของสภาพ

          ปัญหาที่มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเป็นข้อเท็จจริงที่มีการยอมรับ
          ในทางวิชาการ อย่างเช่น การศึกษาของสัญญา บัวเจริญ และคณะ ในเรื่อง
          “สาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่
          ตำารวจ” ในปี ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
          ที่พบว่า สาเหตุที่สำาคัญที่สุดที่เจ้าหน้าที่ตำารวจละเมิดสิทธิมนุษยชนก็คือ

          การมีเจตนาหรือจงใจ หรือลุแก่อำานาจ หรือใช้อำานาจเกินขอบเขต ไม่ปฏิบัติ



                                       192
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221