Page 219 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 219
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
จูงใจให้เกิดการกระทำาผิดนั้นเป็นอย่างไร (ประมวลระเบียบการตำารวจ
เกี่ยวกับคดี ข้อ ๗) โดยปกติเมื่อเกิดคดีอาญาขึ้น เจ้าหน้าที่ตำารวจผู้มี
หน้าที่สืบสวนจำาเป็นที่จะต้องไปสืบสวนและตรวจสถานที่เกิดเหตุ
เพื่อให้ได้เห็นสภาพของสถานที่หรือค้นหาวัตถุพยานหรือพยานบุคคลฯ
(ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ข้อ ๘) บุคคลย่อมมีสิทธิ
ที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ (๓))
ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำาเลยมีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนหรือพิจารณา
คดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐, มาตรา ๔๐ (๗)) ในการสอบสวนให้เริ่มสอบสวน
โดยมิชักช้า จะทำาการในที่ใดเวลาใดแล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหา
ไม่จำาเป็นต้องอยู่ด้วย (ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๐) และให้พนักงานสอบสวน
สืบหาหลักฐานอันเกี่ยวแก่คดีทุกชนิดให้เต็มความสามารถ เพื่อที่จะทราบ
ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหากัน
เพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำาผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด (ประมวลระเบียบการ
ตำารวจเกี่ยวกับคดี ข้อ ๒๐๘, ๒๑๖) พนักงานสอบสวนพึงระลึกเสมอว่า
การสอบสวนต้องรีบกระทำาโดยมิชักช้า แม้กฎหมายจะให้อำานาจการควบคุม
โดยร้องขอต่อศาลได้ก็ตาม แต่อย่าลืมว่าการสอบสวนล่าช้า ทำาให้เกิด
ความเดือดร้อนแก่คู่กรณีและพยาน และอาจทำาให้ข้อเท็จจริงผันแปรไป
(ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ข้อ ๒๐๙ (๑)) พนักงาน
สอบสวนพึงเต็มใจรับแจ้งความ แสวงหา และรวบรวมพยานหลักฐาน
ตามหลักเกณฑ์แห่งกฎหมาย ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงแห่งคดี (ประมวล
ระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ข้อ ๒๐๘ (๔)) พนักงานสอบสวน
พึงพิเคราะห์ข้อเท็จจริงให้เหตุผลอันน่าเชื่อถือว่า ผู้นั้นได้กระทำาผิด
ก่อนมีการแจ้งข้อกล่าวหาจับกุมดำาเนินคดี (ประมวลระเบียบการตำารวจ
เกี่ยวกับคดี ข้อ ๒๐๘ (๕)) พนักงานสอบสวนพึงสำานึกและยึดมั่น
195