Page 218 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 218
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
มาแล้ว ในคู่มือเล่มนี้ก็ได้อาศัยหลักการในเรื่องการจับที่จะต้องใช้
หมายจับในมาตรา ๗๘ มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ตำารวจดังกล่าว ซึ่งในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ได้กำาหนดไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ตำารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับ
ไม่ได้เว้นแต่ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำาผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้
ในมาตรา ๘๐ อย่างนี้เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนอกจากสัญญา บัวเจริญและคณะ จะพบ
สาเหตุทางด้านการมีเจตนาหรือจงใจ หรือลุแก่อำานาจ หรือใช้อำานาจ
เกินขอบเขต ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว ยังพบสาเหตุการละเมิด
สิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำารวจในลำาดับรองลงมาอีกคือ การขาด
จิตสำานึกในการสืบสวน สอบสวน กรณีการสืบสวนนั้นคือไม่มีการรวบรวม
พยานหลักฐานก่อนและหลังเกิดเหตุอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และกรณี
การสอบสวนนั้นคือ ไม่มีการรวบรวมพยานหลักฐานหลังเกิดเหตุ
อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่รวดเร็ว ไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรม (สัญญา
บัวเจริญ และคณะ, ๒๕๕๔: ๑๐๒-๑๐๔) ต่อประเด็นในเรื่องนี้ คู่มือเล่มนี้
ได้พยายามนำาหลักสิทธิมนุษยชนสากล มาตรฐานสิทธิมนุษยชน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่
ตำารวจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลระเบียบการ
ตำารวจเกี่ยวกับคดี กฎหมาย กฎ-ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องฯ เหล่านี้
เช่นเดียวกับแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อมิให้ลุแก่อำานาจที่กล่าวมาแล้ว
มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในเรื่องนี้อย่างเช่น ในเรื่องความเสมอภาค
และการห้ามเลือกปฏิบัติในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคน จะต้องได้รับการ
ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (หลักสิทธิมนุษยชนสากล) เป็นหน้าที่ของพนักงาน
สืบสวนที่จะต้องระลึกเสมอ และเป็นหลักปฏิบัติในการสืบสวนทั้งกรณี
ที่จับตัวผู้ต้องหาได้และยังไม่ได้ คือจะต้องสืบสวนหามูลเหตุและเจตนา
ในการกระทำาผิดคือ สืบว่า วัตถุประสงค์ หรือความตั้งใจ อันเป็นมูลเหตุ
194