Page 211 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 211
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
ประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่ม
สังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือความคิดเห็นทางการเมือง และไม่สามารถ
หรือด้วยความหวาดกลัวนั้น ไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองจาก
ประเทศนั้นๆ (อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ
ปี ค.ศ. ๑๙๕๑)
ส่วนคนไร้สัญชาตินั้นคือ บุคคลที่ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นผู้ที่มี
สถานะที่เป็นสมาชิกของประเทศใด หรือไม่มีประเทศใดรับว่า เป็นสมาชิก
หรือเคยเป็นสมาชิกของประเทศนั้นๆ ไม่มีสัญชาติของรัฐสังกัด หรือเป็น
คนไร้รัฐ (Stateless) หรือเป็นคนต่างด้าวของทุกประเทศนั่นเอง (UNHCR/
The UN Refugee Agency, February, 2012)
ผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย
(๑) คนต่างด้าวจะเข้ามาในราชอาณาจักรและมีสิทธิ
อยู่ในราชอาณาจักรได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบพิธีการ การตรวจคนเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) การลักลอบเข้าเมืองจึงเป็นความผิดมีโทษถึงจำาคุก
โดยทั่วไปแล้วคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง คือ การเข้ามาโดยไม่ได้รับ
อนุญาต และอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาต
(๓) การจับกุม คุมขังผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติโดยอาศัย
อำานาจจาก พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ในมุมของเจ้าหน้าที่รัฐถือว่า
เป็นการบังคับตามกฎหมายภายในของประเทศไทย เพื่อรักษาไว้ซึ่ง
ความมั่นคงของรัฐและความสงบสุขของรัฐ แต่ในทางกลับกัน
หากพิเคราะห์จากแง่มุมด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักกฎหมายระหว่าง
ประเทศแล้ว การจับกุมคุมขังผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติถือเป็นการกระทำา
ที่ขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น
187