Page 217 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 217
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
หน้าที่ตามกฎหมาย (สัญญา บัวเจริญ และคณะ, ๒๕๕๔: ๙๘-๑๐๑)
ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ที่เข้าร่วมประชุม
เพื่อรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงร่างคู่มือฉบับนี้ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ และอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม
๒๕๕๖ ที่ผ่านมาคือ มีการทำาร้ายร่างกายโดยปรากฏร่องรอยบาดแผล
เป็นหลักฐาน ใช้เสื้อคลุมหัว ตบหูทั้งสองข้าง กระทืบหน้าอกและท้อง
นอกจากนั้นยังมีการจับ โดยไม่มีหมายจับฯ เหล่านี้ ซึ่งคู่มือเล่มนี้
ได้พยายามวางแนวทางและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำารวจเพื่อมิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว โดยอาศัยหลักสิทธิมนุษยชน
หรือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล กฎหมายรัฐธรรมนูญ ประมวล
จริยธรรมและจรรยาบรรณของตำารวจมาวางเป็นแนวทางเพื่อเน้นยำ้า
ให้เจ้าหน้าที่ตำารวจปฏิบัติตามแนวทางนี้ตั้งแต่ภาคที่ ๑ เป็นต้นมา
อย่างเช่น ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์หรือคุณค่าของคนในฐานะ
ที่เขาเป็นมนุษย์ (หลักการของสิทธิมนุษยชนสากล) ทุกคนมีศักดิ์ศรี
สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันและต้องปฏิบัติต่อกันฉันท์พี่น้อง (ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ
และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง (รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔) บุคคลย่อมมี
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการ
ลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำามิได้ (รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒) นอกจากนั้น
ไม่เพียงแต่จะอาศัยหลักการของประมวลกฎหมายอาญาที่เจ้าหน้าที่
ตำารวจทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า การกระทำาดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎหมาย
หรือผิดกฎหมายมีโทษทางอาญาไม่สามารถกระทำาได้ ยังอาศัยหลักการ
ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ในส่วนที่ ๓ อีกส่วนหนึ่งอย่างเช่น กรณีการจับโดยไม่มีหมายจับดังกล่าว
193