Page 299 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 299
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 241
ได้เพียงล าพัง จ าเป็นจะต้องท างานแบบบูรณาการเพื่อสร้างบริกการที่มีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียม ซึ่งถูก
กล่าวถึงในยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(2) กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง
การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้ายเป็นความท้ายทายส าคัญส าหรับสังคมไทยที่ก าลัง
ก้าวเข้าสูงสังคมสูงอายุ กลไกหรือเครื่องต่าง ๆ ของภาครัฐก าลังเปลี่ยนผ่านสู่การรองรับผู้สูงอายุที่อาจ
กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในอนาคต การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้ายจึงเป็นมิติที่ต้องเร่งปรับปรุงมาก
ที่สุด ทั้งนี้ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้ายได้สอดแทรกไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท
กฎหมายล าดับรอง ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ ของประเทศไทยมีอยู่มาก โดยสามารถจ าแนกได้ดังนี้
(2.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
256
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงหลักการด้านสุขภาพ
เช่นเดิมเพียงแต่เปลี่ยนแปลงถ้อยค าให้มีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าในรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับไม่ได้กล่าวถึงการ
ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้ายเป็นการเฉพาะ แต่ยังคงเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อก าหนด
เป็นนโยบายส าคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสวัสดิการทางสุภาพให้
ได้รับความเท่าเทียมและทั่วถึง
(2.2) กฎหมายล าดับพระราชบัญญัติ
ยังไม่มีกฎหมายในล าดับพระราชบัญญัติว่าด้วยการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้าย
เป็นการเฉพาะ หรือมีกฎหมายล าดับพระราชบัญญัติที่ออกโดยสอดคล้องกับการสนับสนุนด้านสุขภาพและ
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพียงแต่ยังไม่ครอบคลุมการดูแลระยะยาวและระยะสุดท้าย
(2.3) กฎหมายล าดับรอง
(2.3.1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558
เป็นกฎหมายว่าด้วยการก าหนดกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เป็นกิจการที่ต้องได้รับ
การควบคุม เนื่องการการให้บริการดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของผู้สูงอายุ การดูแลหรือการ
กระท าใด ๆ ต้องไม่เป็นการลดทอนสิทธิและเสรีภาพของผู้สูงอายุ
(2.3.2) ประกาศส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักสูตรและคุณสมบัติของผู้
ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. 2559
256 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง สามารถพิจารณาได้ในตารางที่ 13 ตารางเปรียบเทียบสิทธิของผู้สูงอายุตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560.