Page 298 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 298

240 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       (6) วัดส่งเสริมสุขภาพ เป็นโครงการที่จัดให้วัดท าหน้าที่เป็นสถานที่ส าหรับการส่งเสริมคุณภาพ
             ชีวิตให้แก่ประชาชนควบคู่ไปกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม


                       (2) ส่วนเอกชน
                       โดยปกติการบริการของภาคเอกชนจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าภาครัฐ และมีการด าเนินงานเชิงธุรกิจ
             บางส่วน เช่น
                       (1) สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหรือมูลนิธิ ให้บริการด้านที่พักอาศัย อาหาร ส าหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ

             60 ปีขึ้นไปที่ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้
                       (2) ศูนย์หรือสถานบริบาลสุขภาพ เป็นการให้บริการที่พักค้างคืน บริการอาหาร พร้อมทั้งการ
             ดูแลผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ทั่วไป รวมถึงการพยาบาลด้วย
                       (3) ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ เป็นชุมชนบ้านพักอาศัยส าหรับบุคคลที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

                       (4) สถานที่รับดูแลผู้สูงอายุ เป็นสถานที่รับดูแลเฉพาะผู้สูงอายุ มีทั้งแบบไป-กลับ (day care)
             และแบบอยู่ไปจนกว่าจะเสียชีวิต (long stay)
                       (5) โรงเรียนสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ด าเนินการเปิดสอนหรือฝึกอบรมวิชาการดูแลผู้สูงอายุตาม
             หลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการก าหนด

                       (7) ศูนย์บริการจัดส่งผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือการส่งผู้ดูแลไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
                       จะเห็นได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีการจัดตั้งสถานบริการส าหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับการ
             เจ็บป่วยในระยะยาวหลายแห่ง แต่ด้วยความต้องการที่มากขึ้นการให้บริการในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความ
             ต้องการในอนาคต จะต้องมีการเตรียมพื้นที่ให้มากขึ้น รวมทั้งบุคลากร ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายให้สอด

             รับกับสภาพสังคมผู้สูงอายุต่อไป

                       4.2.2.2 มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


                       (1) ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
             ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก

             ธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบในการจัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน
             ร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วประกอบด้วย 6
             ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้ายถูกอธิบายไว้โดยครอบคลุมในยุทธศาสตร์ที่ 3
             และ 4 กล่าวคือ การดูแลในระยะยาวจ าเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากทั้งบุคลากร เครื่องมือ สถานที่ คุณภาพของ
             บุคลากร ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมที่ถูกต้อง ดังนั้น ในด้านของการพัฒนาจะอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการ

             พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ส่วนการกระจายความเท่าเทียม การเข้าถึง คุณภาพของ
             บริการ ความร่วมมือในการท างาน การดูแลระยะยาวจ าเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนภาครัฐไม่อาจท า
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303