Page 297 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 297
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 239
อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่คนพิการอาศัยอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตลอดจนคุณภาพในการดูแลต้องเหมือน
ดูแลคนปกติ
4.2.2 การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้าย
4.2.2.1 สถานการณ์
การดูแลระยะยาว หมายถึง การดูแลหรือให้บริการแก่บุคคลที่สูญเสียหรือเสื่อมความสามารถใน
ทุกด้าน เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่สามารถจัดการตนเองได้ การให้บริการจะเป็นลักษณะการดูแลความ
ต้องการพื้นฐานและมีรูปแบบการดูแลที่หลากหลาย เช่น การดูแลในสถาบัน (Institute Long-term Care)
หมายถึง การเตรียมการดูแลของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในสถานที่เดียวกัน, การดูแลที่บ้าน (home care) คือ
การที่ให้บ้านหรือชุมชนเป็นผู้เตรียมการดูแล, การดูแลอย่างเป็นทางการ (formal care) เป็นการดูแลโดย
ภาครัฐ ภาคเอกชนที่เป็นวิชาชีพหรือผู้ช่วย และการดูแลอย่างไม่เป็นทางการ (Informal care) คือ การดูแล
โดยครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อน และอาสาสมัคร รวมทั้งการดูแลเป็นรายเฉพาะ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนบุคคลที่เกิดความเจ็บป่วยไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ
254
และภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวและระยะสุดท้ายมากขึ้น แม้ว่าจะยัง
ไม่ครอบคลุมทั้งหมด โดยแบ่งการดูแลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนรัฐบาล และส่วนเอกชน ดังนี้
255
(1) ส่วนรัฐบาล
การให้บริการของภาครัฐส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการแก่บุคคลที่มีฐานะต่ าถึงปานกลาง เช่น
(1) ศูนย์อเนกประสงค์ส าหรับผู้สูงอายุในชุมชน เป็นสถานที่หรือศูนย์กลางส าหรับจัดกิจกรรมต่าง
ๆ ให้แก่ผู้สูงอายุและบุคคลอื่น ๆ ในชุมชน
(2) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นศูนย์การเรียนรู้และเผยแพร่ข่าวสารด้านการจัด
สวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ
(3) สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นสถานที่พักส าหรับผู้ที่อยู่ในระยะเกือบวาระสุดท้ายของ
ชีวิตโดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัว เครือญาติและเพื่อน
(4) สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นสถานที่ให้การอุปการะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งประสบ
ปัญหาความเดือดร้อนไม่มีที่พักอาศัย
(5) สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
254 จาก รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การทบทวนเอกสารด้านสุขภาพและการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง
กับกฎหมาย” (น. 8-9), โดย คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, 2555, กรุงเทพมหานคร: ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ
(สสส.).
255 แหล่งเดิม. (น. 9-11).