Page 288 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 288
230 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
250
ผสมผสานและองค์รวม (health care/service systems re-orientation) ความหมายข้างต้นนี้ให้นัยที่
มากกว่าการให้บริการทางการแพทย์แต่หมายถึงการบริการทางการแพทย์มีความเชื่อมโยงกับสังคม
สิ่งแวดล้อม และการเมือง เป็นต้น
นอกจากนี้ทัศนคติต่อการสนับสนุนด้านสุขภาพอาจแบ่งได้ 2 มุมมอง ได้แก่ มุมมองที่ 1 มุมมอง
ที่ตัวปัจเจก เช่น การปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุในการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตลอดจนด้านสังคม ซึ่งการ
ปฏิบัติดังกล่าวมีลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดี เช่น การบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด การ
ออกก าลังกายอย่างสม่ าเสมอ การลดหรือควบคุมภาวะเครียด ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และตรวจสุขภาพประจ าปี
เป็นต้น เมื่อสามารถปฏิบัติตนด้านสุขภาพอย่างเหมาะสมย่อมส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง และมี
ภาวะเจ็บป่วยจากโรคน้อยลง และมุมมองที่ 2 มุมมองด้านกระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวหมายถึงการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
นโยบาย และกฎหมาย ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่นที่ส่งผลให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องจน
251
น าไปสู่การมีสุขภาพที่ดี
จากที่กล่าวมาการสนับสนุนด้านสุขภาพจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดี
ดังนั้น การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจ าเป็นต้องให้ความรับรู้ต่อประชาชน รับรู้ถึงสิทธิการรับบริการด้าน
สุขภาพทั้งสิทธิในการได้รับและการพิทักษ์สิทธิของตนเองซึ่งเป็นสิ่งส าคัญมากกว่าการรับบริการทางการแพทย์
หรือประสิทธิภาพ หรือวิทยาการทางการแพทย์ การรับรู้ถึงสิทธิจะสะท้อนให้ผู้ก าหนดนโยบายรู้ว่าการ
ให้บริการแก่ประชนนั้นได้ตอบสนองประชาชนจริงหรือไม่ มีความเสมอภาคและเป็นธรรมหรือไม่ และใน
ขณะเดียวกันประชาชนสามารถแสดงความเห็นหรือร้องขอสิทธิที่เหมาะสมแก่ตนเองได้เช่นกัน ทั้งนี้ ภายใต้
กรอบของกฎหมาย นโยบาย ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐก าหนด
4.2.1.2 มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(1) ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก
ธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบในการจัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน
ร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วประกอบด้วย 6
ยุทธศาสตร์ชาติ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสุขภาพในผู้สูงอายุ
ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
250 จาก “กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพ,” โดย อ าพล จินดาวัฒนะ, 2548, วารสารสร้างเสริมสุขภาพ,
2(2), น. 54-67.
251 จาก การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุส าหรับบุคลากรทีมสุขภาพ (น. 25), โดย ทวีศักดิ์
รูปสิงห์, 2550, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามค าแหง.