Page 287 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 287
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 229
ประเทศ มาตรการฉบับนี้มีส่วนสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้ปลอดภัยมากขึ้น สินค้า
บริโภคของผู้สูงอายุตลอดจนช่วงวัยอื่นมีให้เลือกซื้อหลากหลายจากทั่วโลก มาตรการดังกล่าวก็เป็นขั้นตอนหนึ่ง
ในการช่วยคัดกรองสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
จากที่กล่าวมา สนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้สูงอายุด้านอาหารและที่อยู่
อาศัยได้ให้ความส าคัญเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ไม่เพียงให้ความคุ้มครอง
แก่บุคคลหรือกลุ่มใดเป็นพิเศษ แต่ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน
4.2 การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
เมื่อบุคคลเข้าสู่ภาวะสูงวัย ร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมลงตามธรรมชาติ ประชากรสูงอายุ
จึงจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งส่วนมากเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการเสื่อมของ
อวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิต โรคข้อ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น โรคต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมส่งผลให้
ประชากรผู้สูงอายุมีภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ภาวะทุพพลภาพ
ดังกล่าวจะพบมากยิ่งขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้น ประชากรผู้สูงอายุจึงต้องการความ
ช่วยเหลือจากผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจ าวันที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพ
ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐจึงจ าเป็นต้องให้ความส าคัญและให้การช่วยเหลือประชากร
ผู้สูงอายุในประเด็นด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถด ารงชีวิตและมีสุขภาวะที่พร้อม
ส าหรับการแสดงศักยภาพของตนในฐานะที่เป็นคลังสมองและภูมิปัญญา เพื่อสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาและ
วัฒนธรรมอันดีงามเหล่านั้นให้แก่คนรุ่นหลัง ทั้งนี้ การค้นคว้ามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย ใน
ประเด็นผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิทางสุขภาพและคุณภาพชีวิต ใช้วิธีทบทวนยุทธศาสตร์ กฎหมายต่าง ๆ
รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องตามหลักสากลด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งได้ก าหนดประเด็นย่อยเกี่ยวกับผู้สูงอายุกับ
การคุ้มครองสิทธิทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตไว้ทั้งสิ้น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการคุ้มครองทางสุขภาพ
(4.2.1) ประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้าย (4.2.2) ซึ่งรายละเอียดในประเด็นดังกล่าวมี
ดังต่อไปนี้
4.2.1 การสนับสนุนด้านสุขภาพ
4.2.1.1 สถานการณ์
การสนับสนุนด้านสุขภาพ หรือ การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การสร้างบุคคลให้สามารถก าหนด
หรือควบคุมปัจจัยด้านสุขภาพและท าให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบส าคัญ 5 ประการ คือ 1. การ
พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (health public policy development) 2. การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือมี
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (create healthy) 3. การสร้างความเข็มแข็งของชุมชน (community
strengthening) 4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อการสร้างสุขภาพ (personal
skill development) และ 5. การปรับเปลี่ยนระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นไปในลักษณะ