Page 289 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 289
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 231
รัฐต้องให้หลักประกันในการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ใน
ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยซึ่งพัฒนามากขึ้นโดยล าดับและในอนาคตระบบบริการจะสามารถเข้าถึง
โดยเฉพาะกลุ่มที่ห่างไกล กลุ่มชาติพันธุ์ ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยการสนับสนุนทางกฎหมาย นโยบาย
ตลอดจนมาตรการที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ข้อนี้จึงเน้นการสร้างความเท่าเทียมซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชนทุก
คนควรได้รับ
นอกจากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แล้วยังมีแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติอื่นอีก เช่น แผน
ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563 เป็นแผนว่าด้วยการป้องกันโรควิถีชีวิต โดยมีแนวคิดจาก
สภาวการณ์ในปัจจุบันที่เผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ ระบบทุนนยมที่ให้ความส าคัญกับการพัฒนาทางวัตถุ โดย
มีเงินเป็นตัวตั้ง ท าให้มีวิถีชีวิตที่ขาดความสมดุล ขาดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขาดการใส่ใจดูแลควบคุม
ป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกก าลังกาย
สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิถีชีวิตหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดัน
โลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีเป้าหมายในการลดโรควิถี
ชีวิตภายใต้การขับเคลื่อนของ 5 ยุทธศาสตร์ส าคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 นโยบายสาธารณะสร้างสุข
(Healthy Public Policy) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนทางสังคมและสื่อสาธารณะ (Social Mobilization
& Public Communication) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพชุมชน (Community Building)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการจัดการโรค (Surveillance & Care System) และ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างความเข้มแข็งของระบบสนับสนุนยุทธศาสตร์ (Capacity Building)
(2) กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ผู้สูงอายุกับสุขภาพเป็นสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ นอกเหนือจากการกินดีอยู่ดีแล้วการมีสุขภาพที่ดีเป็น
โจทย์ส าคัญส าหรับผู้สูงอายุในวันนี้ ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลในขณะที่ยังไม่ป่วย กระทั่งป่วยก็ต้องได้รับการ
ดูแลจนหายขาดและต้องไม่ป่วยซ้ า ยิ่งอายุมากขึ้นค่าใช้จ่ายทางสุขภาพก็มากขึ้นบวกกับความสมบูรณ์ทาง
กายภาพที่ลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุอาจมีคุณภาพชีวิตที่เสื่อมถอยลง และถูกจัดเป็นกลุ่มชายขอบของสังคม
ดังนั้น กฎหมายจึงเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิสวัสดิการอย่างสมศักดิ์ศรี
โดยสอดแทรกไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท กฎหมายล าดับรอง นโยบาย ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ
ของประเทศไทย ซึ่งสามารถจ าแนกได้ดังนี้
252
(2.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติสิทธิและหน้าที่ของปวงชาวไทยซึ่ง
กล่าวถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ส่งเสริมการสนับสนุนด้าน
สุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากโดยได้ก าหนดภารกิจของรัฐในการให้บริการทางสุขภาพ รวมทั้งพัฒนาและ
252 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง สามารถพิจารณาได้ในตารางที่ 13 ตารางเปรียบเทียบสิทธิของผู้สูงอายุตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560.