Page 290 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 290

232 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ตลอดจนค านึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน การด าเนินการใดที่
             อาจส่งผลกระทบ ประชาชนควรได้รับข้อมูลข่าวสารก่อนมีการด าเนินงาน ตลอดจนเมื่อประชาชนเดือนร้อนอัน
             เนื่องมาจากการให้บริการของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 55 และ มาตรา 58 นอกจากนี้

             ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ วางหลักเรื่องการปรับปรุงระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนทุกคนสามารถ
             เข้าถึงบริการและได้รับสิทธิประโยชน์อยากเท่าเทียมกัน

                          (2.2) กฎหมายล าดับพระราชบัญญัติ


                          (2.2.1) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
                          การสนับสนุนด้านสุขภาพเป็นภารกิจที่รัฐต้องจัดหาให้ส าหรับประชาชนทุกคน ในกรณี
             ผู้สูงอายุจะได้รับการบริการเป็นพิเศษซึ่งถูกก าหนดในมาตรา 11 (1) บัญญัติว่า “การบริการทางการแพทย์และ

             การสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ” ดังนั้น โรงพยาบาลต้องจัด
             ช่องทางพิเศษส าหรับผู้สูงอายุในการมาใช้บริการตั้งแต่การคัดกรอง การจัดคิว การยื่นบัตร การพบแพทย์
             ตลอดจนการรับยา จะได้รับการบริการทันทีโดยไม่ต้องรอนาน
                          (2.2.2) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

                          กฎหมายฉบับนี้ได้ส่งเสริมและป้องกันประชาชนให้ปลอดภัยจากการได้รับบริการทางสุขภาพ
             กล่าวคือ ในด้านการส่งเสริม นอกจากจะให้บริการแบบปกติแล้ว ในกรณีเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ ตลอดจนคน
             ด้อยโอกาสเป็นกลุ่มที่มีความเฉพาะในการให้บริการ การให้บริการจึงไม่สามารถให้บริการบนพื้นฐานของคน
             ปกติได้ จะต้องให้บริการโดยสอดคล้องไปตามกลุ่มเฉพาะ ด้านป้องกันหมายรวมตั้งแต่การป้องกันการเผยแพร่

             ข้อมูลส่วนบุคคล ผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรงรัฐจะต้องแจ้งข้อมูลและวิธีการป้องกันให้ประชาชนทราบ
             โดยเร็ว ตลอดจนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่ต้องมีประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปมีส่วนร่วม
             ด้วย
                          (2.2.3) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

                          เป็นกฎหมายว่าด้วยการรับรองสิทธิของบุคคลให้มีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่
             ได้มาตรฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ การสนับสนุนกองทุนสุขภาพ ตลอดจนให้รัฐจัดและ
             ส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง


                          (2.3) กฎหมายล าดับรอง

                          (2.3.1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่

             จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2548
                          เป็นกฎหมายว่าด้วยการก าหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบการบริการทางการแพทย์และการ
             สาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ จึงได้ก าหนดให้หน่วยงานในระดับโรงพยาบาลของรัฐต้องจัดให้มีช่องทาง
             เฉพาะส าหรับผู้สูงอายุแยกจากผู้รับบริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก และก าหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการ
             ให้บริการแก่ผู้สูงอายุ โดยปิดประกาศไว้ให้ชัดเจน และให้มีการประชาสัมพันธ์ในระหว่างให้บริการ เพื่อให้
   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295