Page 34 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 34
-๑๐-
สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐ
หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(๒) จัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา
และคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
(๓) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ
ค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(๔) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
(๕) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน
มาตรา ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่
และอ านาจ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือแก่บุคคล หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนในการศึกษา
วิจัย และเผยแพร่ความรู้และพัฒนาความเข้มแข็งด้านสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งในการให้ความช่วยเหลือ
หรือเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๒) ส่งเสริมและเผยแพร่ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของ
แต่ละบุคคลที่ทัดเทียมกัน และการเคารพในสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นซึ่งอาจแตกต่างกันในทาง
วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และศาสนา
(๓) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และ
องค์การระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน
(๔) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีหรือการปฏิบัติ
ตามหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๕) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(๖) หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการ
มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้
โดยค านึงถึงประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการท างาน และต้องด าเนินการตามมติของคณะกรรมการ
เว้นแต่ ที่มีบทบัญญัติหรือที่คณะกรรมการมอบหมายให้กรรมการแต่ละคนกระท าได้ ให้กรรมการแต่ละคน
มีอ านาจที่จะด าเนินการดังกล่าวได้ แต่ในการใช้อ านาจนั้นจะต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันด้วย ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก าหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่
เป็นผู้ด าเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่จ าเป็นต้องได้ข้อมูลหรือมีการศึกษาเรื่องใด คณะกรรมการจะขอให้
ส านักงานจ้างบุคคลหรือสถาบันซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด าเนินการในเรื่องนั้นได้ตามที่จ าเป็น หรือ
ในกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนก็ได้ โดยต้อง
28