Page 37 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 37

-๑๓-

                            มาตรา ๓๖ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีใด
                  เป็นเรื่องเฉพาะตัวเป็นรายกรณี ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขการละเมิด
                  สิทธิมนุษยชนดังกล่าวตามหน้าที่และอ านาจภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการก าหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า

                  หกสิบวัน โดยให้คณะกรรมการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไข
                  การละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  ในกรณีนั้นด้วย แล้วแต่กรณี
                            ให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องด าเนินการให้เป็นไปตามที่ได้รับแจ้งภายใน
                  ก าหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง แล้วแจ้งผลการด าเนินการให้คณะกรรมการทราบภายในระยะเวลาที่

                  คณะกรรมการก าหนด
                            ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องไม่อาจด าเนินการได้เนื่องจากไม่อยู่ในหน้าที่

                  และอ านาจของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนนั้น หรือเป็นการร้องเรียนโดยใช้สิทธิไม่สุจริต หรือได้มีการ
                  แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว หรือมีเหตุจ าเป็นอื่นใดให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนพ้นก าหนดเวลา
                  ตามวรรคหนึ่ง

                            ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องมิได้ด าเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสาม
                  ภายในระยะเวลาที่ก าหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้คณะกรรมการจัดท ารายงานเสนอคณะรัฐมนตรี


                            มาตรา ๓๗ ในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดเป็นความผิดอาญาและผู้เสียหาย
                  ไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการ
                  มอบหมายมีอ านาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษได้โดยให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

                  ความอาญา

                            มาตรา ๓ ๘  ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจ าเป็น

                  ต้องด าเนินการโดยเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเป็นภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของบุคคล
                  ซึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการผู้นั้นอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ

                  ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามหน้าที่และอ านาจของ
                  หน่วยงานนั้นได้ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ ในกรณีจ าเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กรรมการผู้นั้น
                  อาจสั่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ

                  ตามที่เห็นสมควรได้
                            ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับค าสั่งตาม

                  วรรคหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติตามค าสั่งนั้น

                            มาตรา ๓๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๖ ห้ามมิให้คณะกรรมการรับเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา

                  แล้วเห็นว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้ ไว้พิจารณา
                            (๑) เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีค าพิพากษา ค าสั่ง หรือค าวินิจฉัย
                  เสร็จเด็ดขาดแล้ว เว้นแต่เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

                  กฎ ระเบียบ หรือค าสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                            (๒) เรื่องที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอ านาจของคณะกรรมการ








                                                                                                                  31
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42