Page 21 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 21

๑๙


                  Module 6  การจัดการความขัดแย้ง


                  หัวข้อวิชา :  ความขัดแย้ง ประเภท และการจัดการความขัดแย้ง (มุมมองเรื่องอ านาจ)
                             แนวคิดการจัดการความขัดแย้ง

                  ระยะเวลา :  จ านวน 3 ชั่วโมง

                  วิทยากร :  ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี    กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  ขอบเขตเนื้อหา :
                             ศึกษาความหมายของความขัดแย้งทั้งในระดับปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มย่อย ที่ส่งผลต่อชุมชน

                  และความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างที่ส่งผลในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นกรอบในการหาสาเหตุของความขัดแย้ง
                  อันเป็นที่มาจากโครงสร้างทางสังคมทั้งเรื่องการก าหนดนโยบายทั้งในทางบริหาร และทางเศรษฐกิจ
                  การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างเหมาะสม

                  สาระส าคัญ :
                             1. ความหมาย

                               ๑.๑ ความขัดแย้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายขึ้นไป (บุคคลหรือกลุ่ม) ที่มีหรือคิดว่า
                  พวกเขามีเป้าหมายที่เข้ากันไม่ได้ และผู้ที่ด าเนินการบนพื้นฐานของการรับรู้ที่ไม่มีความลงรอยกัน
                               ๑.๒ ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง หมายความถึงการไม่จัดสรรทรัพยากรไปยังส่วนภูมิภาค

                  ก่อให้เกิดการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเมือง และภาวะความยากจนกระจายตัวอยู่ต่างจังหวัด
                             2. สาเหตุของความขัดแย้ง
                               ๒.๑ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่แตกต่างกัน
                               ๒.๒ การสื่อสารที่ไม่ดี ท าให้เกิดความไม่ไว้วางใจ
                               ๒.๓ การกระจายต้นทุนและผลประโยชน์ของการอนุรักษ์อย่างไม่เท่าเทียมกัน

                             3. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง
                               ๓.๑ ผลประโยชน์หรือคุณค่าที่ขัดแย้งกัน
                               ๓.๒ ความไม่เท่าเทียมหรือความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริงหรือที่รับรู้ได้

                               ๓.๓ ขาดความชัดเจนในกฎระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิหรือความรับผิดชอบ
                             4. การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                               ๔.๑ ต้องรู้ว่าใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อที่จะวิเคราะห์และจัดการความขัดแย้ง
                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                               ๔.๒ ในความขัดแย้งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่มที่ซับซ้อนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                  จ านวนมาก การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายนั้นไม่สามารถปฏิบัติได้
                               ๔.๓ ในกรณีดังกล่าว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์ความ
                  ขัดแย้งหรือการจัดการต้องมีความชัดเจนว่าพวกเขาจะเป็นตัวแทนอย่างไร? ในกระบวนการจัดการความ

                  ขัดแย้ง (เช่น ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ)
                             5. กระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้ง
                               ๕.1 การปรึกษาหารือ ผู้มีอ านาจตัดสินใจพบกับตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สนใจเพื่อรับ
                  มุมมองเกี่ยวกับปัญหา

                               ๕.2 การเจรจา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการสนับสนุนในการสื่อสารโดยตรงซึ่งกันและกัน
                  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นในมุมมองของกันและกัน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26