Page 62 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 62
50
ระบบนิเวศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ภายใน
ปี พ.ศ. 2563 เทียบกับการปล่อยในกรณีปกติ มีปริมาณหรือสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่ได้รับการ
จัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และรักษาคุณภาพน้้าและคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤตอยู่ใน
เกณฑ์มาตรฐาน (ส้านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กับการจัดการทรัพยากรน า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ถือเป็นฐานการผลิตที่ส้าคัญในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนา
จ้านวนมากก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ความ
หลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม รวมถึงทรัพยากรน้้าที่ยังไม่สามารถจัดสรรได้ตามต้องการและมี
ความเสี่ยงต่อการขาดแคลนในอนาคต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความ
ผันผวนและรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยและภัยแล้งซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและ
ห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จึงได้ก้าหนดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวไว้ใน “ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
โดยมีเป้าหมาย แนวทางการพัฒนา แผนรองรับ และโครงการที่ส้าคัญที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรน้้าใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ดังแสดงในตารางที่ 4.3 ขณะเดียวกัน ส้านักงาน
ทรัพยากรน้้าแห่งชาติ (2562) กล่าวถึงการก้าหนดทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามศักยภาพภูมิสังคม
ของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยทั้ง 6 ภูมิภาคด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้้า ระหว่าง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้้า ดังตารางที่ 4.4