Page 8 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 8

1



                                                      บทที่ 1 บทนำ



               1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247 (3) ประกอบพระราชบัญญัติ

               ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (3)  กำหนดให้

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางใน

               การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการ

               แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่งใดๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนประกอบกับแผน

               ยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 กำหนดให้ กสม. เน้นการ
               ดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของภาครัฐและภาคเอกชน โดยการขับเคลื่อนและผลักดัน

               อย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน โดยกลยุทธ์ที่ 2.1 กำหนดให้เน้นภารกิจในด้าน

               การให้ข้อเสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่สำคัญต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อให้

               สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 (1) ได้กำหนดให้ กสม. มีหน้าที่และอำนาจใน

               การส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือ แก่บุคคล หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการศึกษา วิจัย และเผยแพร่
               ความรู้และพัฒนาความเข้มแข็งด้านสิทธิมนุษยชนอีกด้วย


                        จากรายงานการศึกษาข้อมูลที่ปรากฏในรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

               แห่งชาติ ประกอบกับข้อมูลและความเห็นที่ได้จากการประชุมร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนและผู้แทนส่วน

               ราชการภายในสำนักงาน กสม. พบว่าปัญหาด้านสถานะบุคคลของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ยังคงเป็นปัญหาด้าน

               สิทธิมนุษยชนที่สำคัญและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วง ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด

               ได้แก่  ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พังงา ตราดและตาก ซึ่งคาดการณ์ว่ามีอยู่ประมาณ 38,000 คน
               แบ่งเป็นกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนแล้วประมาณ 18,000 คน และกลุ่มที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน/กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนแล้วมี

               ปัญหาประมาณ 20,000 คน  แม้ว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และ

               กฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นกลไกในการพิสูจน์และกฎ

               คืนสัญชาติไทยให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นมาแล้วเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่ม

               คนไทยพลัดถิ่นก็ยังไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ ส่งผลให้กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นอีกจำนวนมากไม่สามารถ

               เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการด้านต่างๆ ในฐานะพลเมืองไทยได้ โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับบริการด้านสาธารณสุข
               การเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สิทธิทางการศึกษา เสรีภาพในการ

               เดินทาง รวมถึงสิทธิในที่ดินและที่อยู่อาศัย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13