Page 9 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 9
2
สำหรับพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่คนไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
โดยกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั้งระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและพังงา ซึ่งมีจำนวนประมาณการกว่า
28,000 คน โดยกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นดังกล่าว ได้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย
เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาการคืนสัญชาติไทย จนกระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับ
ที่ 5 พ.ศ. 2555 ว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น ซึ่งภายหลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับ
ดังกล่าว กลับพบว่ามีคนไทยพลัดถิ่นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองความ
1
เป็นคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งในปัจจุบันมีคนไทยพลัดถิ่นอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการคืนสัญชาติไทย
เนื่องจากขั้นตอนและกระบวนการในการรับรองคนไทยพลัดถิ่น มีความซับซ้อนในด้านการพิจารณาเกี่ยวกับ
พยานหลักฐานและข้อจำกัดด้านคุณสมบัติเกี่ยวกับสถานะทางทะเบียน จึงทำให้คนไทยพลัดถิ่นบางกลุ่มยังคง
ไม่มีสิทธิยื่นคำขอต่อคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น อีกทั้งในทางปฏิบัติกระบวนการแก้ไข
ปัญหาสถานะทางทะเบียนและการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่นนั้น ยังคงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ยาวนานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
อย่างเช่นกรณีคนไทยพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน
เครือข่ายการแก้ไขปัญหาคืนสัญชาติคนไทยตั้งแต่พ.ศ. 2545 ภายหลังจากที่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่กฎกระทรวงภายใต้กฎหมายสัญชาติกำหนดแล้ว ยังคงต้องใช้ระยะเวลากว่า 20 ปีถึงจะได้รับการทำบัตร
2
ประชาชนเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 อันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าระยะเวลาและ
กระบวนการในการพิจารณาการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่นตามกฎหมายนั้น ส่งผลให้คนไทยพลัดถิ่น
อีกจำนวนมากถูกลิดรอนสิทธิและจำต้องอยู่ในสถานะคนเถื่อนนอกกฎหมาย ไม่มีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการ
ความช่วยเหลือใด ๆ จากรัฐบาลในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการถูกดูหมิ่นดู
3
แคลนถูกเอารัดเอาเปรียบไม่มีวันจบสิ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อท้าทายในการดำเนินการพิสูจน์และคืน
สัญชาติไทยให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในภาคใต้ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และ
กฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 รวมถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาพัฒนาและจัดทำเป็น
1 ชุมชนไท, คนไทยพลัดถิ่น คนไร้สัญชาติ, เว็บไซต์ http://chumchonthai.or.th/data-thaipladthin, สืบค้นวันที่ 20
พฤศจิกายน 2564.
2 ชุมชนไท, คนไทยพลัดถิ่นได้รับบัตรประชาชนเพิ่ม 23 คน โดยได้รับการแก้ปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติ
ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555, เว็บไซต์ https://www.chumchonthai.or.th/node/706, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน2564.
3 อินทรชัย พาณิชกุล, "แพะค่าหัวคิว" ความผิดที่ไม่ได้ก่อของ "คนไทยพลัดถิ่นบางสะพาน", เว็บไซต์
https://www.posttoday.com/social/local/558796 , สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน2564.