Page 17 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 17
“เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย” เกิดจากการประชุมแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ของผู้หญิงม้งหลายจังหวัดจำานวนนับพันคน ซึ่งพบปัญหาเกี่ยวกับ
ความรุนแรงในครอบครัวหลายรูปแบบที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณีและ
ความเชื่อท้องถิ่นต่อผู้หญิง เช่น การให้ความสำาคัญลูกชายมากกว่าลูกสาว
การเลือกปฏิบัติทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณต่อผู้หญิงที่หย่าร้าง ผู้หญิงหม้าย
แม่เลี้ยงเดี่ยว รวมถึงเด็กที่เกิดจากแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้งนี้ ปัญหาหลักอย่างหนึ่ง
ที่ผู้หญิงม้งต้องเผชิญ คือ ระบบจารีตประเพณีตามความเชื่อที่ว่า “ผู้หญิง
ต้องอาศัยผู้ชายเท่านั้น” เมื่อลูกสาวแต่งงานแล้วให้ย้ายออกจากผีเรือนและแซ่
(ตระกูล) ของพ่อไปเป็นสมาชิกของผีเรือนและแซ่ของสามีแทน เมื่อใดก็ตาม
ที่เกิดปัญหาครอบครัว เช่น การหย่าร้าง ผู้หญิงต้องเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้หญิง
จะถูกปฏิเสธจากแซ่ของสามี และไม่สามารถกลับมาเป็นสมาชิกในผีเรือนและแซ่เดิม
ได้อีก ส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กจำานวนหนึ่งประสบปัญหาเป็นคนไร้ผีเรือนและแซ่ตระกูล
ทำาให้ผู้หญิงกลุ่มนี้พบความยากลำาบากในการดำาเนินชีวิต รวมถึงผลกระทบ
ทางด้านจิตใจ นอกจากนั้นหากครอบครัวไหนที่ไม่มีลูกชาย ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว
ก็ไม่สามารถดูแลพ่อแม่ได้เต็มที่
เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย ได้ทบทวนบทเรียนการทำางานสิบปี
ที่ผ่านมา ทำาการศึกษาวิจัยด้วยตัวเองและได้รับการสนับสนุนจากแผนงาน
สุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ของสำานักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งได้ข้อค้นพบสิ่งสำาคัญที่เป็นกุญแจไขปริศนา
ทางความเชื่อธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวด้วยการทำา “พิธีกรรมผู่ (phum)” หรือ
โครงการรับลูกสาวกลับบ้าน โดยเครือข่ายฯ ทำางานร่วมกับผู้อาวุโสชายที่เป็น
ผู้นำาทางพิธีกรรม ผู้รู้ประเพณีปฏิบัติ ผู้นำาท้องถิ่นที่เข้าใจปัญหา รวมถึงผู้เป็นพ่อ
ที่มีลูกสาวประสบปัญหา และกลุ่มผู้หญิงที่ประสบปัญหาโดยตรง เพื่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ และความเชื่อทางประเพณีเพื่อให้เกิดความเสมอภาค
ทางเพศต่อผู้หญิงม้ง โดยการต่อสู้ของผู้หญิงม้ง เป็นการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
โดยยึดหลักสันติวิธี
16