Page 21 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 21
นอกจากนั้นพบว่า ในการเข้าถึงความยุติธรรมของหญิงมลายูมุสลิม
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำานวนน้อยมากที่คดีความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ
ถูกนำาขึ้นสู่การพิจารณาของศาล อีกทั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการบังคับใช้
กฎหมายอิสลามฯ มาตรา 3 กำาหนดให้ใช้กฎหมายอิสลามวินิจฉัยคดีแพ่ง
เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามในเฉพาะคดีที่ขึ้นสู่ศาลเท่านั้น
จึงอาจทำาให้กฎหมายอิสลามใช้ได้ในศาลเท่านั้น เป็นการใช้เฉพาะการตัดสินคดี
ในศาล แต่ไม่ผูกพันถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นนอกศาล คือ เจ้าหน้าที่
ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ดินฯ อาจไม่ยอมรับกฎหมายอิสลามในเรื่องการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส และการแบ่งมรดก เป็นผลให้ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงความยุติธรรม และต้องเผชิญกับปัญหา
นานาประการ โดยที่ไม่มีมาตรการและแนวทางในการคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา
แก่ผู้หญิงที่เผชิญความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากระบบยุติธรรมในศาล ยังมีกลไกในระดับผู้นำาศาสนาและผู้นำาชุมชน
ซึ่งมักเป็นผู้ชายจึงอาจไม่เข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้หญิงต้องเผชิญอย่างเพียงพอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงอันเนื่องมาจากฐานคิดเรื่องเพศสภาพ
อีกทั้งการที่ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ
หลักศาสนาเพียงพอที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้ตนเอง จึงทำาให้เป็นอุปสรรค
สำาคัญในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง
เครือข่ายปกป้องสิทธิผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการทำางาน
ร่วมกับ เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้หญิงที่ทำางานด้านความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องยาวนาน การทำางานร่วมกันของผู้หญิงทำาให้
เกิดความเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก เช่น
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา เครือข่ายได้ส่งรายงานคู่ขนาน ตามอนุสัญญา
CEDAW และมีผู้แทนเข้าร่วมการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
มลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยต่อคณะกรรมการ CEDAW
ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
20