Page 13 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 13
จากเดิมชาวบ้านโคกสะอาด ตำาบลอุ่มจาน อำาเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ทำาเกษตรอินทรีย์ มีพื้นที่
ป่าชุมชน หรือปลูกสมุนไพร ต่อมามีโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตนำาตาลและโรงไฟฟ้า
ชีวมวลของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนบ้านโคกสะอาด
ระยะทาง 2 กิโลเมตร และห่างจากที่ดินทำานาและการเกษตรเพียง 300 เมตร
ในปี 2554 ชาวบ้านโคกสะอาดไม่เห็นด้วยกับโรงงานผลิตนำาตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล
เพราะเกรงว่าจะส่งผลได้รับความเดือดร้อนเสียหายและยากแก่การแก้ไขเยียวยา
ต่อชาวบ้าน ชุมชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบ
นิเวศอันอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนสภาพพื้นที่เกษตรธรรมชาติหรือ
ป่าเศรษฐกิจครอบครัวเป็นโรงงานและไร่อ้อย ก่อความเสียหายและมลพิษต่อ
ลำานำาสาธารณะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน จึงรวมตัวก่อตั้งกลุ่มในนามว่า “กลุ่มรักษ์นำาอูน”
ที่ผ่านมากลุ่มรักษ์นำาอูนได้ติดตามตรวจสอบการดำาเนินโครงการก่อสร้างโรงงาน
ผลิตนำาตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยัง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงอุตสาหกรรม
จังหวัดสกลนคร องค์การบริหารส่วนตำาบลอุ่มจาน สำานักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้มีการตรวจสอบโครงการฯ
ดังกล่าวที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้งได้ร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 11
แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้มีการดำาเนินการศึกษา
ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน ในพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมชุมชนลุ่มนำาอูน
กรณีโครงการโรงงานนำาตาลที่มีกำาลังผลิต 12,500 - 40,000 ตันอ้อยต่อวัน
และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 40 - 114 เมกะวัตต์
กระบวนการต่อสู้ของกลุ่มรักษ์นำาอูนดำาเนินการโดยมี “เครือข่ายผู้หญิง”
เป็นกำาลังหลักสำาคัญ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากผู้ชายส่วนใหญ่ในชุมชน
ต้องออกไปทำางานนอกพื้นที่เพื่อหารายได้ ผู้หญิงจึงมีบทบาทมากขึ้นในการที่จะ
ต้องลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิชุมชนเพื่อปกป้องบ้านเกิดของตนเอง
12