Page 15 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 15
เครือข่ายผู้หญิงกลุ่มรักษ์นำาอูนได้พยายามสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยการรวมกลุ่มจัดทำาโรงเรียนชาวนาให้เด็ก ๆ และเยาวชน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
จากพืชเกษตร เช่น มีการทำาสบู่จากพันธุ์ข้าวท้องถิ่น หลังจากผู้หญิงดำานาเสร็จ
กันแล้ว ก็รวมตัวกันแปรรูปผลิตภัณฑ์หอมดอกฮัง ยาสระผมจากมะกรูด การตั้ง
โรงสีข้าวชุมชนเพื่อสามารถตั้งราคาข้าวได้เอง การสร้างรายได้ให้ชุมชนและผู้หญิง
ที่เข้ามาร่วมกลุ่ม รวมทั้งการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวท้องถิ่นกว่า 100 สายพันธุ์
ให้อยู่กับชุมชนต่อไป โดยสินค้าที่เริ่มเป็นที่รู้จักคือ กลุ่มข้าวหอมดอกฮัง ซึ่งปลูกข้าว
บนนาโคก (นาบนที่ดอนมีป่าธรรมชาติล้อมรอบ) อาศัยนำาฝน ปลูกปีละครั้ง
บำารุงต้นข้าวด้วยปุ๋ยธรรมชาติ ทางกลุ่มได้ใช้การระดมทุนในแบบที่พึ่งตนเองได้
จนมี “โรงสีข้าวชุมชนบ้านโคก” ได้ฤกษ์เปิดทำาการสีข้าวเมล็ดแรกให้พี่น้องในชุมชน
เป็นโรงสีข้าวกล้องขนาด 5 แรงม้า พร้อมโรงเรือนขนาด 4 x 6 เมตร ใช้งบประมาณ
ทั้งสิ้น 200,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อการเพิ่มมูลค่าข้าวให้คนในชุมชนเพื่อจำาหน่าย
ในราคาที่สูงขึ้น อีกทั้งยังมีข้าวสำาหรับการบริโภคที่มีคุณค่าโภชนาการอีกด้วย
เครือข่ายผู้หญิงได้ทำางานต่อเนื่องในการฟ้องร้องคดีเพื่อให้เกิดบรรทัดฐาน
ที่เป็นการปกป้องสิทธิของชุมชน เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561 ชาวบ้าน
กลุ่มรักษ์นำาอูน จังหวัดสกลนคร ร่วมกับทนายความจากมูลนิธินิิติธรรมสิ่งแวดล้อม
(EnLAW) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองอุดรธานี ขอเพิกถอนใบอนุญาตและรายงาน EIA
ของโรงงานผลิตนำาตาลของบริษัทเอกชน เนื่องจากหากเกิดโครงการก่อสร้าง
โรงงานผลิตนำาตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย
แก่ผู้ฟ้องคดีและชุมชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมความหลากหลายทางชีวภาพและ
ระบบนิเวศ เช่น ป่าเศรษฐกิจครอบครัว ลำาห้วยสาธารณะ จึงได้ยื่นฟ้องปลัด
กระทรวงอุตสาหกรรม รองอธิบดีกรมโรงงาน สำานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร
และคณะกรรมการผู้ชำานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (คชก.) ด้านอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค เพื่อขอให้ศาลปกครอง
อุดรธานีมีคำาพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตและรายงาน EIA ของโรงงานผลิตนำาตาล
ดังกล่าว
14