Page 20 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 20
เครือข่ายปกป้องสิทธิผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อเกิดจาก
ความตระหนักร่วมกันของบุคคล และหลายกลุ่มองค์กรทั้งในและนอกจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ที่เห็นประเด็นปัญหาความรุนแรงอันซับซ้อนหลากมิติภายใต้
บริบทของความรุนแรงของสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนปัจจุบัน
เป็นเวลากว่า 15 ปี โดยกลุ่มองค์กร และบุคคลที่ร่วมงานยุติความรุนแรงในเครือข่าย
ปกป้องสิทธิผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาจากหลากหลายความสัมพันธ์
เช่น ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสถานการณ์ความไม่สงบ ผู้ให้ความสำาคัญ
กับการปกป้องสิทธิของผู้หญิง นักวิชาการด้านสิทธิผู้หญิงและสันติภาพ และผู้ที่
เคยเป็นเหยื่อของความรุนแรงกระทั่งกลายเป็นผู้นำาความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
(agent of change) โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันดำาเนินงาน และแสวงหาทางออก
รวมทั้งป้องกันการใช้ความรุนแรงซำาซ้อนในกลุ่มผู้หญิงและเด็กอันเป็นกลุ่มเปราะบาง
ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวเชิงโครงสร้างวัฒนธรรม และความหลากหลายของผู้คน
เนื่องจากบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีเชื้อสาย
มลายูและนับถือศาสนาอิสลาม มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม
ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 ซึ่งมีบทบัญญัติ
ให้ศาลชั้นต้นสามารถใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกในการพิจารณา
คดีแพ่งเกี่ยวกับคดีครอบครัวและมรดก โดยไม่จำาเป็นต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ โดยให้มีดะโต๊ะยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ในการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดคดีครอบครัวและมรดก และเปิดโอกาสให้ศาล
สามารถตีความหลักการของกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวข้อง และนำามาบังคับใช้
กับคดีครอบครัวมรดกโดยให้การตัดสินในชั้นนี้เป็นที่สิ้นสุด (มาตรา 4) ซึ่งหาก
ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามผิดพลาดไป คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์
ฎีกา อันอาจทำาให้เกิดความเสียหายได้
1 เพียงพร วิเศษสินธุ์, “กฎหมายอิสลามกับการจัดการมรดก : ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดสตูล”, รายงานการอบรม
หลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 10 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
สำานักงานศาลยุติธรรม พ.ศ.2555 หน้า 33.
19