Page 11 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 11
ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกร
หญิงกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำาเร็จ เมื่อมีตัวแทนผู้หญิงจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุม
สมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดย
ในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรหญิง ในระบบสาม 8
คือ ยอมให้ลดเวลาทำางานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนา
ศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้
ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครอง
สวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของกรรมกรหญิง
ด้วยการกำาหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล
ในประเทศไทย ข้อมูลของ Protection International ระบุว่ามีนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชนจำานวนไม่น้อยที่รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงด้วย ถูกข่มขู่
คุกคาม ถูกสังหาร ถูกบังคับ สูญหาย ถูกคุกคามทางเพศอย่างต่อเนื่องในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งมีจำานวนมากที่ถูกฟ้องร้องดำาเนินคดีด้วยข้อหาต่าง ๆ
ทั้งจากรัฐหรือเอกชน มีการเพิ่มขึ้นของการฟ้องคดีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
เนื่องจากการทำางานที่ชอบธรรมของพวกเธอในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในประเทศไทย โดยพบว่าตั้งแต่ต้นปี 2560 ที่ผ่านมา 8 ใน 10 ของนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชนที่ถูกตั้งข้อหาว่ามีความผิดทางอาญาเป็นผู้หญิง
อีกทั้งการที่รัฐบาลปัจจุบันมีความพยายามปฏิรูปประเทศโดยการออกกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากร ที่ดิน และพลังงาน แต่ประชาชนยังขาด
การมีส่วนร่วม รวมถึงสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น ทำาให้การทำางานของผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน
ต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
การสร้างความตระหนักและการหามาตรการเร่งด่วนเพื่อคุ้มครอง
ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำาคัญอย่างยิ่ง และต้องการความร่วมมือ
จากทุกฝ่าย เพื่อสร้างหลักประกันในการทำางานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
ว่าหญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคนจะไม่ถูกทำาร้าย ถูกคุกคาม โดยเฉพาะ
การคุกคามทางเพศ และการถูกทำาให้เกลียดชัง รวมถึงศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน
ของผู้หญิงจะได้รับการเคารพและคุ้มครอง
10