Page 44 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 44
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ช่องว่างในการตีความทางกฎหมายของศาลปกครอง ที่มองว่าการลงนาม
ซื้อขายไฟฟ้าไม่ใช่โครงการของรัฐ ที่จะต้องด�าเนินการตามระเบียบ ซึ่งจะต้องมีการ
เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือจัดท�ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตาม
ที่รัฐธรรมนูญก�าหนดและที่ส�าคัญคือช่องว่างของอ�านาจในการพิจารณาคดี เนื่องจาก
กรณีโครงการเขื่อนไซยะบุรี เป็นโครงการที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย ศาลจึงเห็นว่า
เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเหนืออ�านาจหน้าที่ และเป็นโครงการของภาคเอกชน โดยมีความ
เชื่อมต่อกับภาครัฐผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งถูกตีความว่าเป็นสัญญาที่หน่วยงาน
ของรัฐมีอ�านาจหน้าที่ลงนามอยู่แล้ว
กลไกการตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เน้นหนัก
เฉพาะเรื่องการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ ให้มีความโปร่งใส แต่กลไกการก�ากับดูแลในส่วน
อื่น ๆ มีลักษณะตั้งรับ ต้องรอให้มีผู้ร้องเรียนและบทลงโทษหากเกิดความผิดขึ้นจริงก็
ไม่รุนแรง
ปัญหาเชิงโครงสร้างขององค์กร คือการที่หัวหน้าคณะพิจารณา PNPCA
มาจากตัวแทนในระดับปลัดกระทรวง (ของไทยคือ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีต�าแหน่งเป็นเพียงข้าราชการประจ�า แต่กระบวนการ PNPCA
ได้ให้อ�านาจในการตัดสินใจต่อการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่บนแม่น�้าโขง ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อคนจ�านวนมากในแม่น�้าโขงตอนล่าง ทั้งที่อ�านาจความรับผิด
ชอบเหล่านี้ควรเป็นของฝ่ายบริหารระดับรัฐมนตรี เท่ากับว่าประเทศภาคีสมาชิก
ทั้ง 4 ประเทศให้การยอมรับการลดบทบาทอ�านาจฝ่ายบริหารของตน
กระบวนการ PNPCA ได้กลายเป็นขั้นตอนสร้างความชอบธรรมให้กับ
รัฐบาลลาว ในการเดินหน้าโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดยเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของ
3 ประเทศสมาชิก ที่ต้องการให้ขยายระยะเวลาการศึกษาออกไป (หลังจากที่
กระบวนการ PNPCA ครบก�าหนด 6 เดือน) ซึ่งเห็นได้จากข่าวประชาสัมพันธ์
ของ ส�านักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น�้าโขง ในวันที่ 19 เมษายน 2554 42
42 http://www.mrcmekong.org/assets/Publications/Press-Release/Media-Release-Xayaburi-JCSS-
19Apr11-Thai.pdf
40